วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ข้อสอบความรู้เบื้องต้น Topology 5 ข้อ ปรนัย

1.ระบบเครือข่ายที่แบ่งประเภทโดยพิจารณาจากการจัดโครงสร้างอุปกรณ์เป็นหลัก เรียกว่า
a. การจัดรูปทรงระบบเครือข่าย
b. การจัดรูปแบบเครือข่าย
c. การทำทรงระบบเครื่อข่าย
d. การออกรูปแบบเครือข่าย

2.การแบ่งปันการใช้ข้อมูลในระบบเครือข่ายยุคแรก ๆ ใช้การบันทึกข้อมูลลงดิสก์แล้วส่งไปยังผู้ใช้รายอื่น ๆ เรียกระบบเครือข่ายแบบนี้ว่าอะไร
a. Diskette Netwrok
b. LinkerNet
c. SneakerNet
d. Topology

3.Topogogy แบบใดที่ใช้สายเคเบิลน้อยที่สุด
a. Star Topology
b. Bus Topology
c. Ring Topology
d. Mesh Topology

4.การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้สายเคเบิลร่วมกันเป็นการเชื่อมต่อแบบใด
a. Star Topology
b. Ring Topology
c. Bus Topology
d. Mesh Topology

5.ข้อใดคือข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบ Ring Topology
a. ใช้สายเคเบิลจำนวนมาก
b. ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ส่วนกลางเสียเป็นผลให้ระบบล้มเหลว
c. ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียจะเป็นผลกระทบทั้งระบบ
d. ต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการติดตั้งระบบ

Tpology

การจัดรูปโครงสร้างของอุปกรณ์สื่อสารเพื่อจัดตั้งเป็นระบบเครือข่ายสามารถกระทำได้หลายแบบดังนี้

1. ระบบเครือข่ายที่แบ่งประเภทโดยพิจารณาจากการจัดโครงสร้างอุปกรณ์เป็นหลัก เรียกว่า การจัดรูปทรงระบบเครือข่าย (Topology) ได้แก่ ระบบเครือข่ายแบบดาว แบบบัส และแบบวงแหวน เป็นต้น
2. ระบบเครือข่ายตามขนาดทางกายภาพของระยะทางในการส่งข้อมูลเป็นหลัก ได้แก่ เครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN) เครือข่ายในเขตเมือง (MAN) เครือข่ายวงกว้าง (WAN) และเครือข่ายสหภาค (Internetwork)
3. ระบบเครือข่ายที่พิจารณาจากขอบเขตการใช้งานขององค์กร เช่น เครือข่ายอินทราเนต (Intranet) เครือข่ายเอ็กซ์ทราเนต( Extranet) และเครือข่ายสากล (Internet)
การจัดรูปทรงระบบเครือข่าย (Topology)วิธีการอธิบายระบบเครือข่ายแบบหนึ่งคือการพิจารณาจากรูปทรงของระบบเครือข่ายดังรูปที่ 2.13 , 2.14 และ 2.15 คือระบบเครือข่ายแบบดาว แบบบัส และแบบวงแหวน ตามลำดับ

ระบบเครือข่ายแบบดาว (Star Topology)ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เรียกว่า โฮสต์ (Host) หรือ เซิฟเวอร์ (Server) ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นแลอุปกรณ์ที่เหลือ ระบบนี้เหมาะกับการประมวลผลที่ศูนย์กลางและส่วนหนึ่งทำการประมวลผลที่เครื่องผู้ใช้ (Client or Work Station) ระบบนี้มีจุดอ่อนอยู่ที่เครื่อง Host คือ การสื่อสารทั้งหมดจะต้องถูกส่งผ่านเครื่อง Host ระบบจะล้มเหลวทันทีถ้าเครื่อง Host หยุดทำงาน

ระบบเครือข่ายแบบบัส (Bus Toplogy)เป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทั้งหมดด้วยสายสื่อสารเพียงเส้นเดียว อาจใช้สายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเซียล หรือสายใยแก้วนำแสงก็ได้ สัญญาณที่ถูกส่งออกมาจากอุปกรณ์ตัวใดก็ตามจะเป็นลักษณะการกระจายข่าว (Broadcasting) โดยไม่มีอุปกรณ์ตัวใดเป็นตัวควบคุมระบบเลย แต่อาศัยซอฟท์แวร์ที่ติดตั้งในอุปกรณ์แต่ละตัวทำหน้าที่ควบคุมการสื่อสาร ในระบบบัสนี้จะมีอุปกรณ์เพียงตัวเดียวที่สามารถส่งสัญญาณออกมา อุปกรณ์ตัวอื่นที่ต้องการส่งสัญญาณจะต้องหยุดรอจนกว่าในระบบจะไม่มีผู้ใดส่งสัญญาณออกมาจึงจะส่งสัญญาณของตนออกมาได้ ถ้าหากส่งออกมาพร้อมกันจะเกิดปัญหาสัญญาณชนกัน (Collision) ทำให้สัญญาณเกิดความเสียหายใช้การไม่ได้ และระบบนี้จะมีประสิทธิภาพต่ำถ้ามีอุปกรณ์เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมาก

ระบบเครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Topology)ระบบเครือข่ายวงแหวนจะมีลักษณะคล้ายเครือข่ายบัสที่เอาปลายมาต่อกัน โดยไม่มีอุปกรณ์ใดเป็นตัวควบคุมการสื่อสารของระบบเลย และข้อมูลในวงแหวนจะเดินไปในทิศทางเดียวกันเสมอ

ระบบเครือข่ายตามขนาดทางกายภาพของระยะทางในการส่งข้อมูลระบบเครือข่ายในลักษณะนี้ ได้ให้คำจำกัดความจากตำแหน่งที่ตั้งและขอบเขตวงกว้างของการใช้งาน ซึ่งแบ่งได้หลายอาณาเขต
1. เครือข่ายเฉพาะบริเวณ (Local Area Networks) หรือเครือข่ายระบบแลน (LAN)
2. เครือข่ายในเขตเมือง (Metropolitan Area Networks) หรือเครือข่ายระบบแมน (MAN)
3. เครือข่ายวงกว้าง (Wide Area Networks) หรือเครือข่ายแวน (WAN)เครือข่ายเฉพาะบริเวณ
(LAN)มีขอบเขตการทำงานแคบ มักอยู่ในอาคาร ออฟฟิศ สำนักงาน หรือหลายอาคารที่อยู่ติดกัน ไม่เกิน 2,000 ฟุต ระบบ LAN ได้รับความนิยมมากในการเชื่อมต่ออุปกรณ์สำนักงานเข้าด้วยกัน โดยมีสายนำสัญญาณการสื่อสารที่เป็นของตนเอง โดยใช้ Topology แบบบัส หรือวงแหวนและมีช่องสื่อสารที่กว้าง เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สำนักงาน อุปกรณ์ระบบแสดงผล พิมพ์งาน และการรับส่งข้อมูลข่าวสารในสำนักงานทำงานร่วมกันได้
ถ้าหากการใช้งานในบางจุดของสำนักงานไม่สามารถเดินสายเคเบิลได้ หรือมีข้อจำกัดด้านการติดตั้งและลงทุนเช่น การต่อสาย LAN ข้ามตึก หรือระหว่างชั้นสำนักงาน ก็สามารถประยุกต์ใช้ระบบ LAN ไร้สาย ตามที่กล่าวไปแล้วได้ รูปที่ 2.17 แสดงถึงการต่อวง LAN วงหนึ่งในลักษณะ Ring มักมีเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งทำหน้าที่เป็น Host หรือ เซิฟเวอร์ (Server) ซึ่งคล้ายกับบรรณารักษ์ คอยจัดเก็บโปรแกรมและฐานข้อมูล และควบคุมการเข้าใช้ของ User แต่ละคน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น Server นี้มักมีหน่วยความจำใหญ่และมีหน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าพีซีปกติ

ความสามารถในการทำงานของระบบแลนถูกกำหนดโดย ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System ; NOS ) ที่ติดตั้งอยู่ที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องหรืออาจอยู่ที่เครื่อง Server เพียงเครื่องเดียว ระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่ในการ กำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลในเครือข่ายและจัดการบริหารการสื่อสารตลอดจนควบคุมการใช้งานทรัพยากรทั้งหมดในเครือข่าย ตัวอย่างซอฟท์แวร์ที่นิยมใช้ ได้แก่ Novell Netware , Microsoft Windows 2000 Server , IBM’s OS/2 Warp Server เป็นต้น ซึ่งซอฟท์แวร์ประยุกต์ที่ใช้บนระบบเครือข่าย LAN ในปัจจุบันมักนิยมทำงานในแบบ ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ (Client / Server System) โดยที่เครื่องผู้ให้บริการจะเป็นผู้จัดเตรียมข้อมูลและโปรแกรมให้ผู้ใช้บริการ ระบบเครือข่ายในเขตเมือง (MAN)

โดยพื้นฐานแล้วระบบเครือข่ายในเขตเมือง (Metropolitan Area Network) มีลักษณะคล้ายกับระบบ LAN แต่มีอาณาเขตที่ไกลกว่าในระดับเขตเมืองเดียวกัน หรือหลายเมืองที่อยู่ติดกันก็ได้ ซึ่งอาจเป็นการให้บริการของเอกชนหรือรัฐก็ได้ เป็นการบริการเฉพาะหน่วยงาน มีขีดความสามารถในการให้บริการทั้งรับและส่งข้อมูล ทั้งภาพและเสียง เช่นการให้บริการระบบโทรทัศน์ทางสาย (Cable TV)ระบบเครือข่ายวงกว้าง (WAN)เป็นระบบที่มีขอบเขตการใช้งานกว้างกว่า ไกลกว่าระบบแลน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบที่ไร้ขอบเขตแล้ว เช่นระบบการสื่อสารข้อมูลผ่านดาวเทียมของสถานีโทรทัศน์ต่างๆ แต่การที่จะเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีระยะห่างกันมากๆให้เป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งหมดนั้นจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายสาธารณะ (Public Networks) ที่ให้บริการการสื่อสาร โดยเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม ผ่าน เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ (Public Switching Telephone Network ; PSTN) ซึ่งมีทั้งลักษณะต่อโมเด็มแบบที่ต้องมีการติดต่อก่อน (Dial-up) หรือต่อตายตัวแบบสายเช่า (Lease Line)

เป็นระบบที่มีขอบเขตการใช้งานกว้างกว่า ไกลกว่าระบบแลน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบที่ไร้ขอบเขตแล้ว เช่นระบบการสื่อสารข้อมูลผ่านดาวเทียมของสถานีโทรทัศน์ต่างๆ แต่การที่จะเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีระยะห่างกันมากๆให้เป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งหมดนั้นจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายสาธารณะ (Public Networks) ที่ให้บริการการสื่อสาร โดยเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม ผ่าน เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ (Public Switching Telephone Network ; PSTN) ซึ่งมีทั้งลักษณะต่อโมเด็มแบบที่ต้องมีการติดต่อก่อน (Dial-up) หรือต่อตายตัวแบบสายเช่า (Lease Line)

ระบบเครือข่ายที่พิจารณาจากขอบเขตการใช้งานขององค์กรระบบอินทราเนต (Intranet) ในปัจจุบันบางองค์กรได้จำลองลักษณะของอินเตอร์เนตมาเป็นเครือข่ายภายในและใช้งานโดยบุคคลากรของบริษัท ผู้คนในบริษัทจะทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อกันในองค์กรเฉพาะเครือข่ายของบริษัทตนเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับองค์กรอื่นภายนอก ทั้งที่อยู่ในสำนักงานเดียวกันหรือต่างสาขาก็ได้ หรือจะอยู่คนละภูมิประเทศก็ได้ สามารถสื่อสารกัน (Interfacing) ได้โดยการใช้ Web Browser เขียนเป็น Home Pages เหมือนอินเตอร์เนตโดยทั่วไป ด้วยกราฟฟิก ภาพ ข้อความ เสียง และมี Function ต่างๆ เช่น Web-board การ Log-in การเปิดหน้าต่าง Browser ด้วยวิธีการคลิ๊กทีละ Page นำเสนอข้อมูลที่สวยงาม ง่ายต่อการเข้าใจ มีระบบจดหมายอีเลกทรอนิกส์ มี Account ให้พนักงานแต่ละคนใช้ส่วนตัว มีระบบโต้ตอบและสนทนาได้อัตโนมัติ ตัวอย่างของระบบอินทราเนต ที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่ ระบบซอฟท์แวร์ Lotus-Note ของบริษัท IBMข้อดีของอินทราเนตที่องค์กรต่างๆนิยมใช้เพราะ เป็นส่วนตัว (Privacy) ในระดับองค์กร คาวมเร็วในการส่งผ่านข้อมูลที่จำเป็นเฉพาะองค์กร การป้องกันการรั่วไหลของความลับองค์กร แต่ในขณะเดียวกันระบบอินทราเนตสามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เนตภายนอกได้ทันที เพราะอาศัย Protocol มาตรฐาน TCP/IP เหมือนกันระบบเอ็กทราเนต (Extranet) เป็นอีกลักษณะของระบบเครือข่ายที่เป็นระบบสารสนเทศระหว่างองค์กร (Inter-Organization ; I-OIS) ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างองค์กรที่มีความสัมพันธ์กัน ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ติดต่อธุรกรรมกันเป็นประจำ ระหว่างพนักงาน บริษัทคู่ค้า บริษัทลูกค้า หรือบริษัทที่เป็นพันธมิตรกัน

ระบบเอ็กทราเนตจะอาศัยโครงสร้างของอินทราเนตและอินเตอร์เนตในการทำงานสื่อสารระหว่างองค์กร แต่อาจอาศัยเครือข่ายเฉพาะส่วนบุคคล (Virtual private Networks ; VPN) ซึ่งจะต้องมีการเข้ารหัสต่างๆ เพื่อขออนุญาตเข้าใช้เครือข่าย มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กรระหว่างกัน ปัจจุบันนิยมมากในกลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะเป็นพันธมิตรทางการค้า (Alliance) ที่ต้องอาศัยข้อมูลของบริษัทร่วมกัน (Collaboration Commerce ; C-Commerce) เช่น ข้อมูลสต็อกสินค้า ข้อมูลลูกค้า และมีฟังก์ชั่นการทำงานในลักษณะโต้ตอบ สนทนา แบบ Real time

ระบบอินเตอร์เนต (Internet) เป็นระบบที่รู้จักกันดีและใช้งานกันอยู่เป็นประจำ เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน เชื่อมโยงศูนย์คอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้เป็นระบบเดียว จึงเป็นระบบสื่อสารที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก เพราะมีประโยชน์ในวงการต่างๆ มากมายอินเตอร์เนตที่ทั่วโลกสามารถเชื่อมต่อกันได้เพราะมีมาตรฐานหรือโปรโตคอลที่ชื่อว่าTCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงได้โดยผ่านผู้ให้บริการอินเตอร์เนตเชิงพาณิชย์ (Internet Service Provider ; ISP ) ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการเสมือนศูนย์กลางการสื่อสารคอยติดต่อประสานงานกับวงอินเตอร์เนตอื่นๆทั่วโลก เสมือนสำนักงานไปรษณีย์ที่คอยส่งจดหมายไปตามที่อยู่ (IP Address) ของผู้รับ ผู้ให้บริการอินเตอร์เนตในประเทศไทยปัจจุบันได้แก่ Loxinfo , CS Communication , Internet KSC , AsiaNet , Telecomasiaหรือแม้แต่องค์การโทรศัพท์หรือ ทศท.คอร์เปอเรชั่น จำกัด ในปัจจุบันก็หันมาทำธุรกิจให้บริการอินเตอร์เนตด้วย

IP Address หรือบ้านเลขที่บนอินเตอร์เนต ถ้าเปรียบอินเตอร์เนตเป็นเมืองขนาดใหญ่ และเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเป็นบ้านที่มีถนนเชื่อมถึงกัน เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นย่อมต้องมีเลขที่บ้านเพื่อให้รู้ตำแหน่งกันโดยไม่ซ้ำกับเครื่องใดในโลก IP Address ประกอบไปด้วยตัวเลข 4 ชุด ต่อกัน โดยมีจุดเป็นสัญญลักษณ์แบ่งตัวเลข แต่ละชุดมีค่าตั้งแต่ 0 – 255 โดยสามารถทำการขอเลข IP ได้จากหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจาก InterNIC (Internet Network Information Center) เช่นผู้ให้บริการอินเตอร์เนตทั่วไป

Internet Address คงไม่มีใครอยากจะจดจำ IP Address เพราะเป็นชุดตัวเลขที่ยาวมากไม่สะดวกต่อการจดจำและเรียกใช้ลำบาก จึงมีการกำหนดชื่อเรียกขึ้นมาแทน IP Address เหมือนการจดทะเบียนการค้า มีเลขทะเบียนการค้าแล้ว แต่ต้องจดทะเบียนชื่อห้างร้านด้วย Internet Address อยู่ในรูปของตัวอักษร นิยมตั้งให้จำได้ โดยมากใช้ชื่อองค์กรหรือชื่อที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาหรือวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือบุคคลเจ้าของ Website นั้นๆ โดยมีตัวย่อหลังเครื่องหมายจุดในอินเตอร์เนตแอดเดรสเป็นตัวระบุความแตกต่างกันของขนิดองค์กร ที่พบบ่อยๆ ได้แก่

ส่วนอินเตอร์เนตแอดเดรสในประเทศไทย มักมี .th ตามต่อท้ายเพื่อให้ทราบว่ามี IP อยู่ในประเทศไทยเป็นการกำหนดตำแหน่งประเทศที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ ตั้งอยู่ เช่น co.th , ac.th , go.th , or.th เป็นต้นบริการต่างๆในอินเตอร์เนต ตัวอินเตอร์เนตเอง คือระบบที่สร้างขึ้นเพื่อการเชื่อมต่อข้อมูลแต่ข้อมูลที่จะเชื่อมต่อกันบนอินเตอร์เนตอาจอยู่ในรูปแบบใดๆก็ได้ ขึ้นกับความต้องการผู้ใช้ โดยมากที่เราพบเห็นจะอยู่ในรูปแบบ www (World Wide Web หรือที่เรารู้จักกันว่า Web site) แต่อินเตอร์เนตมีรูปแบบที่ให้บริการต่างๆได้มากมาย อาทิ
1. เครือข่ายใยพิภพ (เครือข่ายใยแมงมุม) World Wide Web ประกอบไปด้วย Website ต่างๆมากมายบนโลก
2. บริการจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ (e-Mail) ที่มีชื่อเสียงที่เรารู้จักก็คือ โปรแกรม OutLook หรือบริการ e-mail บนเว็บยอดฮิตก็ Hotmail ที่รูจักกันดี
3. บริการโอนย้ายไฟล์ (File Transfer Protocol ; FTP) บริการให้ Up – Down load แฟ้มข้อมูลต่างๆ
4. Usenet บอร์ดข่าวสารบนอินเตอร์เนต
5. ระบบการสนทนาโต้ตอบแบบทันที (Internet Relay Chat ; IRC)
6. Internet Phone หรือ Voice Mail ที่สามารถใช้เสียงพูดคุยผ่านอินเตอร์เนต (VoiceOverIP)
7. การให้บริการแฟกซ์ผ่านอินเตอร์เนต (Internet Fax)8. การให้บริการภาพและเสียงผ่านอินเตอร์เนต (Streaming audio and video)

URL ที่สนใจ

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ที่สนใจก็พราะว่า รูปแบบของเว็บเค้าทำได้สวย น่าศึกษา มีเนื้อหาดีพอควร มีความรู้ให้เราศึกษามากมาย
และยังเป็นแหล่งที่อับเดทข้อมูลอื่น ๆอีกด้วย

e-Learning ที่เกี่ยวข้อง

http://e-learning.mfu.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
http://regelearning.payap.ac.th/ มหาวิทยาลัยพายัพhttp://elearning.utcc.ac.th/lms/main/default.asp มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยhttp://md.rmutk.ac.th/ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
http://e-learning.kku.ac.th/ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
http://space.kbu.ac.th/el/index.asp มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตhttp://elearning.dusit.ac.th/xedu/Home.aspx มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตhttp://sutonline.sut.ac.th/moodle/mod/resource/view.php?id=7790 มหวิทยาลัยเทคโนดลยีสุรนารีhttp://www.academic.hcu.ac.th/e-learning/e-learning.html มหวิทยาลัยหัวเฉลียวเฉลิมพระเกียรติ
http://e-learning.tu.ac.th/ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำอธิบายรายวิชา เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการกระจาย

คำอธิบายรายวิชา (Course Description)

ความรู้เบื้องต้นเบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เครือข่าย การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับเทอร์มินอล ชั้นของโปรโตคอลมาตรฐาน OSI รูปแบบต่าง ๆ ของเครือข่าย X.25 เนตเวิร์คและดิจิตอลเนตเวอร์ค การประมวลผลแบบตามลำดับและแบบขนาน การไปป์ไลน์ (Pipelining) การประมวลผลแบบเวคเตอร์ (Vector Processing) การประมวลผลแบบอะเรย์ (Array Processors) มัลติโปรเซสเชอร์ (Multiprocessor) และฟอลท์โทเลอร์แรนซ์ (Fault Tolerance)

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

ข้อสอบ เรื่อง เส้นใยแก้วนำแสง

1.เส้นใยแก้วนำแสงคืออะไร
ก.เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก
ข.เส้นที่ไม่มีความบริสุทธิ์เหลืออยู่แล้ว
ค.เป็นเส้นที่มีน้ำหนักมาก
ง.เส้นที่ไม่มีความทนทาน

2.เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะอย่างไร?.
ก.หนามีขนาดใหญ่
ข.ขนาดสั้น
ค.เป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา
ง.ขนาดเท่าสายทองแดง

3.เส้นใยแก้วนำแสงเรียกอีกอย่างว่า?..
ก.ไฟเบอร์ติก
ข.ไฟออบติก
ค.ไฟนำทาง
ง.ไฟเบอร์ออปติก

4.เส้นใยแก้วนำแสงแบ่งออกเป็นกี่ แบบ?..
ก. 2 แบบ
ข. 3 แบบ
ค. 4 แบบ
ง. 5 แบบ

5.แสงสามารถเดินทางผ่านเส้นใยแก้วนำแสงได้อย่างไร?..
ก.แสงเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง จะเกิดปรากฎการณ์ของการสะท้อน
ข.เมื่อแสงผ่านเข้ามาในสายไฟเบอร์ออพติก(เส้นใยแก้วนำ แสง)ที่ทำจากแก้ว จะเกิดการสะท้อนกลับหมดที่ผิวแก้ว
ค.แสงในเส้นใยแก้วนำแสงจะถูกทำให้สะท้อนกลับไปกลับมาระหว่างรอยต่อของแกนกลาง (core) และฉนวนที่หุ้ม (cladding) จากปลายข้างหนึ่งไปยังอีกปลายข้างหนึ่งของเส้นใยแก้วนำแสง
ง.นำสัญญาณแสงผ่านสายไฟเบอร์ออพติก

6.โดยทั่วไปเมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง จะเกิดปรากฎการณ์ใดขึ้น?..
ก.ของการสะท้อนและการหักเห
ข.การเบี่ยงเบน
ค.การเลี้ยวกลับ
ง.การหยุดนิ่ง

7.การใช้งานสายไฟเบอร์ออพติก(เส้นใยแก้วนำแสง) จะมีกี่ลักษณะ ?..
ก. 2 ลักษณะ
ข. 3 ลักษณะ
ค. 4 ลักษณะ
ง. 5 ลักษณะ

8.ในปัจจุบันการนำภาพของวัตถุผ่านสายไฟเบอร์ออพติก(เส้นใยแก้วนำแสง) เปรียบเทียบได้กับอะไร?..
ก. กล้องส่องทางไกล
ข. กล้องถ่ายรูป
ค. กล้องฉีดยาย
ง. กล้องตรวจอวัยวะภายในของมนุษย์

9.จุดเด่นของเส้นใยแก้วนำแสงคืออะไร ?..
ก. สวยงาม
ข.จุดที่ได้เปรียบสายตัวนำทองแดง ที่จะนำมาใช้แทนตัวนำทองแดง
ค. หาซื้อง่าย
ง. มีลักษณะทึบแสง

10.ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นใยแก้วนำแสงที่ใช้กันมากคือ ?..
ก.62.5/125 ไมโครเมตร
ข.63.5/125 ไมโครเมตร
ค.64.5/125 ไมโครเมตร
ง.65.5/125 ไมโครเมตร

ตอบ
1. ก
2. ค
3. ง
4. ก
5. ค
6. ก
7. ก
8. ง
9. ข
10.ก

การสอบ CCNA CCNP CCIE

การสอบ CCNA- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ network media- การคอนฟิก router เบื้องต้นโดยใช้ Cisco IOS commands- การติดตั้ง และคอนฟิกเน็ตเวิร์กบน LAN, WAN- เข้าใจ และสามารถคอนฟิก routable protocols (IP, IPX, Apple Talk, etc.)- เข้าใจ และสามารถคอนฟิก routing protocols (RIP, IGRP, EIGRP, etc.)- ระบบความปลอดภัยบนเน็ตเวิร์กสถานที่คือกรุงเทพกับเชียงใหม่ส่วนค่าใช้จ่ายในการสอบ ประมาณ 8900 การสอบ CCNPCCNP certification (Cisco Certified Network Professional) เป็น Network Specialist Certification ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ผู้ที่ได้รับ CCNP Certified นั้นมีความสามารถในการติดตั้ง, ปรับแต่งและแก้ปัญหากับอุปกรณ์ Routers Router, LAN Switching ตลอดจน Access Server ในระดับ enterprise ขององค์กรได้ ทั้งนี้ข้อสอบใหม่ จะเน้นหัวข้อเนื้อหาใหม่ในด้าน security,converged networks, quality of service (QoS), virtual private networks (VPN) และ broadband technologies.ในการสอบ CCNP มีทั้งหมด 4 วิชาราคาสอบอยู่ที่ประมาณ 6,450 บาทครับ ทุกวิชาเท่ากันหมดครับสถานที่สอบที่ VNOHOWการสอบ CCIECCIE - Cisco Certified Internetwork Expert CCIE เป็น Cert ระดับสูงของ cisco โดยจะมี 4 Track ย่อยๆ แบ่งไปตามลักษณะของการทำงาน เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของ Cisco โดยแต่ละ Track จะแยกจากกันอย่างสิ้นเชิง หากต้องการทำงานในด้านใดในระดับสูง ก็เลือกจากข้อสอบในส่วนนี้Track ย่อยประกอบไปด้วยCCIE Service Provider CCIE Routing and Switching CCIE Security CCIE VoiceCisco Certified Internetwork Expert (CCIE) เป็นประกาศนียบัตรขั้นสูงสุดในส่วนของ Network Installation and Support Certificationและ Communication and Services Certificationสถานที่สอบ1. Bangalore (บังกาลอร์,อินเดีย) 2. Beijing (ไบจิง,จีน) 3. Brussels (กรุงบรัสเซล,เบลเยี่ยม)4. Dubai (ดูไบ)5. Hongkokg (ฮ่องกง)6. Research Triangle Park (RTP)7. San Jose (สองสถานที่ข้างต้น 6,7 อยู่แถวๆโซนอเมริกา)8. Sao_Paolo (เซ้าเปาโล,บราซิล)9. Sydney (ซิดนีย์,ออสเตรเลีย)10. Tokyo (โตเกียว,ญี่ปุ่น)ค่าใช้จ่ายในเรื่อง CCIE Boot CAMP 250000 บาท ค่าสอบ มาคือว่าWriting ค่าสอบ 300 เหรียญ หรือ 10500 บาทLab ค่าสอบ 1250 เหรียญ หรือ 43750 บาทไหนจะค่าบินไปสอบ ค่ากินก็คงตกอยู่ประมาณ 10000 บาท

สรุปคำสั่ง OSPF

OSPF เป็นเร้าติ้งโปรโตคอลที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใช้บนเน็ตเวิร์ก IP โดยคณะทำงาน Interior Gateway Protocol (IGP) ย่อยแห่งคณะกรรมการ Internet Engineering Task Force (IETF) คณะทำงานนี้ได้ถูกก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1998 เพื่อทำหน้าที่ออกแบบเร้าติ้งโปรโตคอลที่ใช้บนเน็ตเวิร์กภายในองค์กร โดยมีพื้นฐานมาจากอัลกอริทึมในทางคอมพิวเตอร์แบบ Shortest Path First (SPF) อัลกอริทึมนี้มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า Dijkstra’S Algorithm ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งตามชื่อของนักคณิตศาสตร์ที่เป็นผู้ออกแบบและคิดค้นอับกอริทึมนี้OSPFได้รับการออกแบบมาเพื่อเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆที่เคยมีในเร้าติ้งโปรโตคอลแบบ Distance Vector OSPF นั้นสามารถตอบสนองได้รวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเน็ตเวิร์ก และมีการส่ง “triggered updates” ไปในทันทีโดยอัตโนมัติ และส่ง “Periodix update” ไปทุก ๆ ช่วงเวลาเช่น ทุก ๆ 30 นาที นอกจากนั้นยังมีกลไกล ที่ดีในการตรวจสอบสถานการณ์สื่อสาร ระหว่างเร้าเตอร์ปัจจุบันกับเร้าเตอร์ข้างเคียงต่าง ๆ ด้วย “ Hello Mechanism”โดยสรุปแล้ว OSPF มีคุณลักษณะที่สำคัญได้แก่- เป็นเร้าติ้งโปรโตคอลมาตรฐานและเป็นมาตรฐานสากล ข้อกำหนดและพฤติกรรมต่าง ๆ ได้รับการอธิบายไว้อย่างชัดเจนใน RFC (Request for Comments) IETF ได้พัฒนา OSPF ขึ้นมาในปี 1988 ส่วนเวอร์ชันล่าสุดซึ่งรู้จักกันในนาม OSPF เวอร์ชัน 2 ได้รับการอธิบายไว้ใน RFC 2328- เป็นเร้าติ้งโปรโตคอลที่อาศัยการอัปเดตสถานะของเน็ตเวิร์กอินเตอร์เฟซไปให้กับเร้าเตอร์เพื่อบ้านแล้วให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้านสร้างภาพรวมของเน็ตเวิร์กทั้งหมด และคำนวณหาเส้นทางเอง แต่จะไม่ ส่งเร้าติ้งเทเบิลทั้งตารางไปให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้านเหมือนกันในกรณีของ Distance Vector- มีการเลือกเส้นทางที่สั้นที่สุดโดยพิจารณาจากแบนด์วิดธ์ (Bandwidth)-รองรับการตั้งแอดเดรสแบบมีจำนวนบิตของ Subnet Mask ไม่เท่ากัน (Variable Length Subnet Mask: VLSM) และมีการส่ง Subnet Mask ไปให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้านด้วย -รองรับการสร้างสิ่งที่เรียกว่า “OSPF Area” ซึ่งสามารถทำให้เน็ตเวิร์กที่ใช้งาน OSPF สามารถจัดแบ่งเน็ตเวิร์กออกเป็นโซนหรือพื้นที่ย่อย ๆ ได้ (เรียกว่าการแบ่ง Area) ทั้งนี้เพื่อจำกัดสโคป หรือขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงเน็ตเวิร์กโทโพโลยี-รอบรับการทำ “Route summarization”-รองรับการทำการกระจายแพ็กเก็ตไปบนเส้นทางที่มีแบนด์วิดธ์เท่ากัน-สามารถทำ “Route authentication” ระหว่างเร้าเตอร์เพื่อตรวจสอบตัวตนซึ่งกันและกันก่อนที่จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน-ไวมากต่อพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงเน็ตเวิร์กโทโพโลยี (Fast convergence) Wireshark เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดักจับ Packet ที่มีการรับส่งกันบนเครือข่าย ในการดักจับ Packet นั้น โปรแกรม Wireshark นั้นจะต้องทำงานที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายนั้นNetwork Diagram ที่ใช้ Wireshark ในการดักจับ packet แสดงภาพของ Network Diagram ที่ใช้ในการดักจับ Packet ของการทำงานของ Open Shortest Path First (OSPF) Protocol ซึ่งจะเป็นการติดต่อเปลี่ยนแปลง Update Routing Protocol ระหว่าง Core Switch และ Router ใน Area เดียวกับการค้นหาเร้าเตอร์ ข้างเคียงที่รัน OSPF จะเกิดขึ้นด้วยการส่งแพ็กเก็ตพิเศษที่เรียกว่า HELLO PACKET ออกไปไปโดยใช้มัลติคาสก์แอดเดรส 224.0.0.5 หลังจากนั้นแอดเดรสของเร้าเตอร์ ข้างเคียงที่ค้นพบได้จะถูกเก็บไว้ในตาราง OSPF Neighbor Tableผลลัพธ์ที่ได้จะแสดงหมายเลข IP Address ของเร้าเตอร์ และ Switch ข้างเคียง แต่ละตัวที่ค้นพบได้ทางซีเรียสอินเตอร์เฟซต่างๆ กัน เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้านถูกสร้างขึ้นได้สำเร็จ สถานะ (State) ที่เห็นจะอยู่ในสถานะ FULL หลังจากฟอร์มความสัมพันธ์ระหว่างกันได้แล้ว เร้าเตอร์จะมีการส่ง Hello packet ออกไปให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้านทุก ๆ ระยะๆ ตามช่วงเวลาที่เรียกว่า Hello Interval เพื่อยืนยันว่าตนเองยังมีชีวิตอยู่ หากเร้าเตอร์ไม่ได้ รับ HELLO PACKET มาจาเร้าเตอร์เพื่อนบ้านหลังจากช่วงเวลาที่เรียกว่า Dead Interval ผ่านไปมันตะถือว่าเร้าเตอร์เพื่อนบ้านนั้น ๆ ได้ดาวน์ลงไปรูปแบบของ Hello Packetในการสร้างความสัมพันธ์ของ Protocol OSPF จาก Core Switch ที่มี Source IP Address เป็น 172.18.19.252 ซึ่งมี Destination IP Address เป็น 244.0.0.5 (Multicast Address)BGP (Border Gateway Protocol) เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางประเภท Exterior Gateway Routing ที่ใช้เพื่อการเชื่อมต่อเราเตอร์ (Router) และเครือข่ายที่อยู่ต่างโดเมน (Domain) กันบนอินเทอร์เน็ตBGP ใช้ Protocol TCP Port หมายเลข 179 เพื่อใช้ในการขนถ่ายข้อมูลข่าวสาร โดยมีการใช้ TCP เพื่อการสถาปนาการเชื่อมต่อก่อนจะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเราเตอร์ BGP ทั้งสอง (Peer Router) จากนั้นก็จะทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งการเปิดสัมพันธไมตรีก่อนที่จะแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันต่อไปข้อมูลข่าวสารที่เราเตอร์ทั้งสองใช้เพื่อการแลกเปลี่ยนกัน รวมไปถึงข่าวสารที่แสดงถึงความสามารถในการเข้าถึงกันได้ โดยข่าวสารนี้เป็นในรูปแบบของเลขหมาย AS ของแต่ละฝ่าย ซึ่งต่างฝ่ายถือเป็นเส้นทางในการเข้าหากัน ข้อมูลนี้จะช่วยให้เราเตอร์สามารถสร้างผังของเส้นทางที่ปราศจากลูป (Loop) ในการเข้าหากัน อีกทั้งเราเตอร์ยังใช้เพื่อเป็นการกำหนดเส้นทางเชิงนโยบายที่มีเนื้อหาที่กำหนดข้อจำกัดต่าง ๆจุดประสงค์ของการใช้ BGP1.BGP ให้ประโยชน์อย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการเชื่อมต่อเครือข่ายต่าง ๆ รวมทั้งลูกค้า และผู้ให้บริการโทรศัพท์ รวมทั้งเครือข่ายอื่น ๆ2.BGP เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายในรูปแบบของ Autonomous ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน3.BGP เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายในระดับ Enterprise หากองค์กรของท่านมีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตแบบหลายเชื่อมต่อเพื่อผลแห่ง Redundancy BGP ก็สามารถทำ Load Balancing Traffic ได้บนเส้นทางที่เป็น Redundant Link4.จัดเลือกเส้นทางผ่านทางเครือข่ายไปยัง Autonomous System อื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกัน5.มีการเชื่อมต่อระหว่าง Autonomous System มากกว่า 1 เส้น6.ควบคุมการลำเลียงข้อมูลข่าวสารที่วิ่งไปมาระหว่างระบบ Autonomous System7.ท่านยังสามารถใช้ Policy ที่กำหนดให้ท่านสามารถเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดเพื่อเดินทางไปสู่ปลายทางRIP (Routing Information Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ใช้อย่างกว้างขวาง สำหรับการจัดการสารสนเทศของ router ภายในเครือข่าย เช่น เครือข่าย LAN ของบริษัท หรือการติดต่อภายในกลุ่ม ของเครือข่าย RIP ได้รับการจัดชั้นโดย Internet Engineering Task Force (IETF) ให้เป็นหนึ่งในโปรโตคอลของ Internet Gateway Protocol (หรือ Interior Gateway Protocol)การใช้ RIP, gateway host (ที่มี router) จะส่งตาราง routing (ซึ่งมีรายการของ host ทั้งหมดที่ทราบ) ไปยัง host ใกล้เคียงทุก 30 วินาที host ใกล้เคียง จะส่งต่อสารสนเทศไปยัง host ต่อไป จนกระทั่งภายในเครือข่าย จะมีข้อมูลเส้นทางเหมือนกัน สถานะนี้เรียกว่า network convergence การหาระยะของเครือข่าย RIP ใช้การนับแบบ hop เป็นวิธีการในการค้นหา (โปรโตคอลอื่นใช้อัลกอริทึมที่ทันสมัยกว่า เช่น เวลา) แต่ละ host ที่มี router ในเครือข่ายใช้ตารางสารสนเทศ routing ในการค้นหา host ต่อไป เพื่อหาเส้นทางให้กับแพ็คเกต สำหรับปลายทางที่กำหนดRIP ได้รับการพิจารณาว่าคำตอบที่มีประสิทธิผล สำหรับเครือข่าย homogeneous ขนาดเล็ก สำหรับเครือข่ายที่ซับซ้อน การส่งผ่านตาราง routing ทุก 30 วินาทีของ RIP อาจจะทำให้จำนวนรวม ของการใช้เครือข่ายหนาแน่นขึ้น

วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เส้นใยแก้วนำแสง

เส้นใยแก้วนำแสงคืออะไรเส้นใยแก้วนำแสงหรือไฟเบอร์ออปติก เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา เส้นใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมากเส้นใยแก้วนำแสงแบ่งออกเป็นกี่ แบบเส้นใยแก้วนำแสงสามารถแบ่งตามความสามารถในการนำแสงออกได้เป็น 2 ชนิด คือ 1.เส้นใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Singlemode Optical Fibers, SM) เป็นการใช้ตัวนำแสงที่บีบลำแสงให้พุ่งตรงไปตามท่อแก้ว โดยมีการกระจายแสงออกทางด้านข้างน้อยที่สุด ซิงเกิลโหมดจึงเป็นเส้นใยแก้วนำแสงที่มีกำลังสูญเสียทางแสงน้อยที่สุด เหมาะสำหรับในการใช้กับระยะทางไกล ๆ การเดินสายใยแก้วนำแสงกับระยะทางไกลมาก เช่น เดินทางระหว่างประเทศ ระหว่างเมือง มักใช้แบบซิงเกิลโหมด ยิงแสงได้เพียงหนึ่งความถี่เดียว2.เส้นใยแก้วนำแสงชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM) เป็นเส้นใยแก้วนำแสงที่มีลักษณะการกระจายแสงออกด้านข้างได้ ดังนั้นจึงต้องสร้างให้มีดัชนีหักเหของแสงกับอุปกรณ์ฉาบผิวที่สัมผัสกับแคล็ดดิง ให้สะท้อนกลับหมด หาก การให้ดัชนีหักเหของแสงมีลักษณะทำให้แสงเลี้ยวเบนทีละน้อย เราเรียกว่าแบบเกรดอินเด็กซ์ หากใช้แสงสะท้อนโดยไม่ปรับคุณสมบัติของแท่งแก้วให้แสงค่อยเลี้ยวเบนก็เรียกว่า แบบ สเต็ปอินเด็กซ์ ยิงแสงได้ แค่หลาย ความถี่ แสงสามารถเดินทางผ่านเส้นใยแก้วนำแสงได้อย่างไรโครงสร้างของ เส้นใยแก้วนำแสงมีส่วนอย่างมากในการส่งผ่านแสง โดยแสงในเส้นใยแก้วนำแสงจะถูกทำให้สะท้อนกลับไปกลับมาระหว่างรอยต่อของแกนกลาง (core) และฉนวนที่หุ้ม (cladding) จากปลายข้างหนึ่งไปยังอีกปลายข้างหนึ่งของเส้นใยแก้วนำแสง สาเหตุที่ต้องมี cladding หุ้มส่วนของ core ไว้ ก็เนื่องจากว่า ถ้าหาก core สัมผัสกับอากาศโดยตรง อาจมีสิ่งปนเปื้อนในอากาศหรือ คราบน้ำมันมาเกาะจับที่ core ซึ่งจะทำให้การสะท้อนกลับของแสงภายใน core ไม่ดี เป็นเหตุให้มีการสูญเสียสัญญาณแสงขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมี cladding มาหุ้มไว้เพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว นอกจากนี้แล้ว ถัดจากชั้น cladding ออกมาก็จะมีฉนวนหุ้มอีกชั้นหนึ่ง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้เส้นใยนำแสงโค้งงอได้ด้วยรัศมีค่าหนึ่งโดยไม่แตกหัก โดยทั่วไปเมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง จะเกิดปรากฎการณ์ของการสะท้อน (reflection) และการหักเห (refraction) ของแสงขึ้นที่ผิวรอยต่อระหว่างตัวกลางทั้งสอง ซึ่งสำหรับในกรณีพิเศษที่ตัวกลางที่แสงตกกระทบมีค่าดัชนีหักเหมากกว่า ในอีกตัวกลางหนึ่ง ( n2>n1 ; โดย n1 คือค่าดรรชนีหักเหของแสงในตัวกลางที่แสงหักเห และ n2 คือค่าดรรชนีหักเหของตัวกลางที่แสงตกกระทบ) และมีมุมตกกระทบที่พอเหมาะก็จะทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า การสะท้อนกลับหมดของแสง (Total Internal Reflection) ขึ้น ซึ่งปรากฎการณ์ดังกล่าวสามารถนำมาอธิบายถึงรูปแบบการเดินทางของแสงอย่างง่ายใน เส้นใยแก้วนำแสงได้ ค่าดรรชนีหักเหของตัวกลางหนึ่ง ๆ ก็คือ อัตราส่วนระหว่างความเร็วของแสงในอากาศกับความเร็วของแสงในตัวกลางนั้น ๆ เช่น ค่าดรรชนีหักเหของน้ำมีค่าประมาณ 1.3 นั่นคือแสงเคลื่อนที่ในอากาศได้เร็วกว่าในน้ำ เส้นทางของแสงในสายไฟเบอร์ออพติก เมื่อแสงผ่านเข้ามาในสายไฟเบอร์ออพติก(เส้นใยแก้วนำ แสง)ที่ทำจากแก้ว จะเกิดการสะท้อนกลับหมดที่ผิวแก้ว (บริเวณที่เป็นรอยต่อของแก้วกับอากาศ) แสงที่สะท้อนนี้จะกลับเข้ามาในสายไฟเบอร์ออพติก(เส้นใยแก้วนำแสง) และเกิดการสะท้อนที่ผิวแก้วอีกด้านหนึ่ง การสะท้อนนี้จะเกิดภายในแก้ว โดยไม่มีการทะลุผ่านผิวแก้วออกไปยังอากาศ ทำให้สายไฟเบอร์ออพติก(เส้นใยแก้วนำแสง) สามารถนำแสงจากจุด A ไปยังจุด B ได้ โดยเส้นทางของ AB เป็นเส้นโค้ง จากสมบัติข้อนี้จึงได้มีการสร้างเครื่องมือตรวจดูอวัยวะภาย ในร่างกายมนุษย์โดยการนำแสงจากภายนอกผ่านสายไฟเบอร์ออพติก(เส้นใยแก้วนำแสง) ไปยังกระเพาะอาหาร และนำภาพกระเพาะอาหารกลับมายังภายนอกให้ผู้ทำการตรวจได้มองเห็น การใช้งานสายไฟเบอร์ออพติก(เส้นใยแก้วนำแสง) จะมี 2 ลักษณะ คือ 1 นำภาพของวัตถุผ่านสายไฟเบอร์ออพติก(เส้นใยแก้วนำแสง) เช่น กล้องตรวจอวัยวะภายในของมนุษย์ 2 นำสัญญาณแสงผ่านสายไฟเบอร์ออพติก(เส้นใยแก้วนำแสง) สำหรับชุดทดลองนี้ จะศึกษาเฉพาะลักษณะบางประการของการส่งสัญญาณแสงผ่านสายไฟเบอร์ออพติก(เส้นใย แก้วนำแสง) ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเส้นใยแก้วนำแสง ที่ทำมาจากพลาสติกเพื่องานบางอย่างที่ไม่คำนึงถึงการสูญเสียสัญญาณมากนัก เช่น การสื่อสารในระยะทางสั้น ๆ ไม่กี่เมตร

ข้อมูลสำหรับการศึกษาและทำความเข้าใจกับเส้นใยแก้วนำแสง เพื่อว่าจะได้เห็นข้อดีข้อเสีย รวมถึงแนวทางการนำมาประยุกต์ ในอาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย สำนักงาน อาคารอุตสาหกรรมต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้สายสัญญาณเพื่อเชื่อมโยงระบบสื่อสาร แต่เดิมสายสัญญาณที่นำมาใช้ได้แก่ สายตัวนำ ทองแดงปัจจุบันสายสัญญาณระบบสื่อสารมีความจำเป็นมากขึ้น โดยเฉพาะระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และมีแนวโน้มที่จะรวมระบบสื่อสารอย่างอื่นประกอบเข้ามาในระบบ ด้วย เช่น ระบบเคเบิลทีวี ระบบโทรศัพท์ ระบบการบริการข้อมูลข่าวสารเฉพาะของบริษัท ผู้ให้บริการต่าง ๆ ความจำเป็นในลักษณะนี้จึงมีผู้ตั้งคำถามว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะ ให้อาคารที่สร้างใหม่มีระบบเครือข่ายสายสัญญาณด้วยเส้นใยแก้วนำแสงหากพิจารณาให้ดีพบว่า เวลานั้นได้มาถึงแล้ว ปัจจุบันราคาของเส้นใยแก้วนำแสงที่เดินในอาคารมีราคาใกล้เคียงกับสายยูทีพีแบบเกรดที่ดี เช่น แคต 5 ขณะเดียวกันสายเส้นใยแก้ว นำแสงให้ประสิทธิภาพสูงกว่ามาก และรองรับการใช้งานในอนาคตได้มากกว่าสายยูทีพีแบบแคต 5 รองรับความเร็วสัญญาณได้ 100 เมกะบิตต่อวินาที และมีข้อจำกัดในเรื่องความยาวเพียง 100 เมตร ขณะที่เส้นใยแก้วนำแสงรองรับความถี่สัญญาณได้ หลายร้อยเมกะเฮิรตซ์ และยังใช้ได้กับความยาวถึง 2,000 เมตร การพัฒนาในเรื่องต่าง ๆ ของเส้นใยแก้วนำแสงได้ก้าวมาถึงจุดที่จะนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางแล้วบทความนี้จึงขอนำเสนอเพื่อแสดงให้เห็นว่า เส้นใยแก้วนำแสงมีจุดเด่นอย่างไร มีแนวโน้มการใช้งานด้านใดบ้าง และที่สำคัญคือจะเป็นข้อมูลสำหรับการศึกษาและทำความเข้าใจ กับเส้นใยแก้วนำแสง เพื่อว่าจะได้เห็นข้อดีข้อเสีย รวมถึงแนวทางการนำมาประยุกต์ให้คุ้มค่า โดยเฉพาะการมองแนวทางของเทคโนโลยีในระยะไกลจุดเด่นของเส้นใยแก้วนำแสงจุดเด่นของเส้นใยแก้วนำแสงมีหลายประการ โดยเฉพาะจุดที่ได้เปรียบสายตัวนำทองแดง ที่จะนำมาใช้แทนตัวนำทองแดง จุดเด่นเหล่านี้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และดีขึ้น เรื่อย ๆ ซึ่งประกอบด้วยความสามารถในการรับส่งข้อมูลข่าวสารเส้นใยแก้วนำแสงที่เป็นแท่งแก้วขนาดเล็ก มีการโค้งงอได้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใช้กันมากคือ 62.5/125 ไมโครเมตร เส้นใยแก้วนำแสงขนาดนี้เป็นสายที่นำมาใช้ภายใน อาคารทั่วไป เมื่อใช้กับคลื่นแสงความยาวคลื่น 850 นาโนเมตร จะส่งสัญญาณได้มากกว่า 160 เมกะเฮิรตซ์ ที่ความยาว 1 กิโลเมตร และถ้าใช้ความยาวคลื่น 1,300 นาโนเมตร จะส่งสัญญาณได้กว่า 500 นาโนเมตร ที่ความยาว 1 กิโลเมตร และถ้าลดความยาวลงเหลือ 100 เมตร จะใช้กับความถี่ของสัญญาณมากกว่า 1 กิกะเฮิรตซ์ได้ ดังนั้นจึงดีกว่า สายยูทีพีแบบแคต 5 ที่ใช้กับสัญญาณได้ 100 เมกะเฮิรตซ์กำลังสูญเสียต่ำเส้นใยแก้วนำแสงมีคุณสมบัติในเชิงการให้แสงวิ่งผ่านได้ การบั่นทอนแสงมีค่าค่อนข้างต่ำ ตามมาตรฐานของเส้นใยแก้วนำแสง การใช้เส้นสัญญาณนำแสงนี้ใช้ได้ยาวถึง 2,000 เมตร หากระยะทางเกินกว่า 2,000 เมตร ต้องใช้รีพีตเตอร์ทุก ๆ 2,000 เมตร การสูญเสียในเรื่องสัญญาณจึงต่ำกว่าสายตัวนำทองแดงมาก ที่สายตัวนำทองแดงมีข้อ กำหนดระยะทางเพียง 100 เมตรหากพิจารณาในแง่ความถี่ที่ใช้ ผลตอบสนองทางความถี่มีผลต่อกำลังสูญเสียโดยเฉพาะในลวดตัวนำทองแดง เมื่อใช้เป็นสายสัญญาณ คุณสมบัติของสายตัวนำทองแดงจะ เปลี่ยนแปลงเมื่อใช้ความถี่ต่างกัน โดยเฉพาะเมื่อใช้ความถี่ของสัญญาณที่ส่งในตัวนำทองแดงสูงขึ้น อัตราการสูญเสียก็จะมากตามแต่กรณีของเส้นใยแก้วนำแสงเราใช้สัญญาณ รับส่งข้อมูล จึงไม่มีผลกับกำลังสูญเสียทางแสงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไม่สามารถรบกวนได้ปัญหาที่สำคัญของสายสัญญาณแบบทองแดงคือการเหนี่ยสนำ โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปัญหานี้มีมาก ตั้งแต่เรื่องการรบกวนระหว่างตัวนำหรือเรียกว่าครอสทอร์ค การไม่ แมตช์พอดีทางอิมพีแดนซ์ ทำให้มีคลื่นสะท้อนกลับ การรบกวนจากปัจจัยภายนอกที่เรียกว่า EMI ปัญหาเหล่านี้สร้างให้ผู้ใช้ต้องหมั่นดูแลแต่สำหรับเส้นใยแก้วนำแสงแล้วปัญหาเรื่องเหล่านี้จะไม่มี เพราะแสงเป็นพลังงานที่มีพลังงานเฉพาะและไม่ถูกรบกวนโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การเดินทางในเส้นแก้วก็ปราศจาก การรบกวนของแสงจากภายนอกน้ำหนักเบาเส้นใยแก้วนำแสงมีน้ำหนักเบากว่าเส้นลวดตัวนำทองแดง น้ำหนักของเส้นใยแก้วนำแสงขนาด 2 แกนที่ใช้ทั่วไปมีน้ำหนักเพียงประมาณ 20 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของสายยูทีพี แบบแคต 5ขนาดเล็กเส้นใยแก้วนำแสงมีขนาดทางภาคตัดขวางแล้วเล็กกว่าลวดทองแดงมาก ขนาดของเส้นใยแก้วนำแสงเมื่อรวมวัสดุหุ้มแล้วมีขนาดเล็กกว่าสายยูทีพี โดยขนาดของสายใยแก้วนี้ใช้ พื้นที่ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ของเส้นลวดยูทีพีแบบแคต 5มีความปลอดภัยในเรื่องข้อมูลสูงกว่าการใช้เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะใช้แสงเดินทางในข่าย จึงยากที่จะทำการแท๊ปหรือทำการดักฟังข้อมูลมีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินการที่เส้นใยแก้วนำแสงเป็นฉนวนทั้งหมด จึงไม่นำกระแสไฟฟ้า การลัดวงจร การเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าจึงไม่เกิดขึ้นความเข้าใจผิดบางประการแต่เดิมเส้นใยแก้วนำแสงมีใช้เฉพาะในโครงการใหญ่ หรือใช้เป็นเครือข่ายแบบแบ็กโบน เทคโนโลยีเกี่ยวกับเส้นใยแก้วนำแสงก็ยังไม่เป็นที่เปิดเผยมากนัก ทำให้เกิดความเข้าใจผิด บางประการเกี่ยวกับคุณสมบัติและการประยุกต์ใช้งานแตกหักได้ง่ายด้วยความคิดที่ว่า "แก้วแตกหักได้ง่าย" ความคิดนี้จึงเกิดขึ้นกับเส้นใยแก้วด้วย เพราะวัสดุที่ทำเป็นแก้ว ความเป็นจริงแล้วเส้นใยแก้วมีความแข็งแรงและทนทานสูงมาก การออกแบบใยแก้วมีเส้นใยห้อมล้อมไว้ ทำให้ทนแรงกระแทก นอกจากนี้แรงดึงในเส้นใยแก้วยังมีความทนทานสูงกว่าสายยูทีพี หากเปรียบเทียบเส้นใยแก้วกับสายยูทีพีแล้วจะ พบว่า ข้อกำหนดของสายยูทีพีแล้วจะพบว่า ข้อกำหนดของสายยูทีพีมีคุณสมบัติหลายอย่างต่ำกว่าเส้นใยแก้ว เช่น การดึงสาย การหักเลี้ยว เพราะลักษณะคุณสมบัติทางไฟฟ้า ที่ความถี่สูงเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่าเส้นใยแก้วนำแสงมีราคาแพงแนวโน้มทางด้านราคา มีการเปลี่ยนแปลงราคาของเส้นใยแก้วนำแสงลดลง จนในขณะนี้ยังแพงกว่าสายยูทีพีอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากนัก นอกจากนี้หลายคนยังเข้าใจว่า การติดตั้ง เส้นใยแก้วนำแสงมีข้อยุ่งยาก และต้องใช้คนที่มีความรู้ความชำนาญ เสียค่าติดตั้งแพง ความคิดนี้ก็คงไม่จริง เพราะการติดตั้งทำได้ไม่ยากนัก เนื่องจากมีเครื่องมือพิเศษ ช่วยได้มาก เครื่องมือพิเศษนี้สามารถเข้าหัวสายได้โดยง่ายกว่าแต่เดิมมาก อีกทั้งราคาเครื่องมือก็ถูกลงจนมีผู้รับติดตั้งได้ทั่วไปเส้นใยแก้วนำแสงยังไม่สามารถใช้กับเครื่องที่ตั้งโต๊ะได้ปัจจุบันพีซีที่ใช้ส่วนใหญ่ต่อกับแลน แบบอีเธอร์เน็ต ซึ่งได้ความเร็ว 10 เมกะบิต การเชื่อมต่อกับแลนมีหลายมาตรฐาน โดยเฉพาะปัจจุบันหากใช้ความเร็วเกินกว่า 100 เมกะบิต สายยูทีพีรองรับไม่ได้ เช่น เอทีเอ็ม 155 เมกะบิต แนวโน้มของการใช้งานระบบเครือข่ายมีทางที่ต้องใช้แถบกว้างสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะเมื่อต้อการให้พีซีเป็นมัลติมีเดียเพื่อแสดง ผลเป็นภาพวิดีโอ การใช้เส้นใยแก้วนำแสงดูจะเป็นทางออก พัฒนาการของการ์ดเชื่อมต่อที่ใช้กับพีซีโดยเฉพาะเอทีเอ็มการ์ดก็ได้พัฒนาไปมาก เอทีเอ็มการ์ดใช้ความเร็ว 155 เมกะบิต ย่อมต้องใช้เส้นใยแก้วนำแสงรองรับ การใช้เส้นใยแก้วนำแสงสามารถใช้ในการส่งรับวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ หรือสัญญาณประกอบอื่น ๆ ได้ดีรูปที่ 1 เส้นใยแก้วนำแสงแบบซิงเกิลโหมดรูปที่ 2 เส้นใยแก้วนำแสงแบบมัลติโหมดเส้นใยแก้วนำแสงมีกี่แบบคุณสมบัติของเส้นใยแก้วนำแสงแบ่งแยกได้ตามลักษณะคุณสมบัติของตัวนำแสง ที่มีลักษณะการใช้แสงส่องทะลุในลักษณะอย่างไร คุณสมบัติของเนื้อแก้วนี้จะกระจายแสงออก ซึ่งในกรณีนี้การสะท้อนของแสงกลับต้องเกิดขึ้นโดยผนังแก้วด้านข้างต้องมีดัชนีหักเหของแสงที่ทำให้แสงสะท้อนกลับ เพื่อลดการสูญเสียของพลังงานแสง วิธีการนี้เราแบ่งแยก ออกเป็นสองแบบคือ แบบซิงเกิลโหมด และมัลติโหมดซิงเกิลโหมดเป็นการใช้ตัวนำแสงที่บีบลำแสงให้พุ่งตรงไปตามท่อแก้ว โดยมีการกระจายแสงออกทางด้านข้างน้อยที่สุด ซิงเกิลโหมดจึงเป็นเส้นใยแก้วนำแสงที่มีกำลังสูญเสียทางแสงน้อยที่สุด เหมาะสำหรับในการใช้กับระยะทางไกล ๆ การเดินสายใยแก้วนำแสงกับระยะทางไกลมาก เช่น เดินทางระหว่างประเทศ ระหว่างเมือง มักใช้แบบซิงเกิลโหมดมัลติโหมดเป็นเส้นใยแก้วนำแสงที่มีลักษณะการกระจายแสงออกด้านข้างได้ ดังนั้นจึงต้องสร้างให้มีดัชนีหักเหของแสงกับอุปกรณ์ฉาบผิวที่สัมผัสกับแคล็ดดิง ให้สะท้อนกลับหมด หาก การให้ดัชนีหักเหของแสงมีลักษณะทำให้แสงเลี้ยวเบนทีละน้อย เราเรียกว่าแบบเกรดอินเด็กซ์ หากใช้แสงสะท้อนโดยไม่ปรับคุณสมบัติของแท่งแก้วให้แสงค่อยเลี้ยวเบนก็เรียกว่า แบบ สเต็ปอินเด็กซ์เส้นใยแก้วนำแสงที่ใช้ในเครือข่ายแลนส่วนใหญ่ใช้แบบมัลติโหมด โดยเป็นขนาด 62.5/125 ไมโครเมตร หมายถึงเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อแก้ว 62.5 ไมโครเมตร และของ แคล็ดดิงรวมท่อแก้ว 125 ไมโครเมตรคุณสมบัติของเส้นใยแก้วนำแสงแบบสเต็ปอินเด็กซ์มีการสูญเสียสูงกว่าแบบเกรด

อินเด็กซ์ตัวส่งแสงและรับแสงการใช้เส้นใยแก้วนำแสงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณแสง อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณแสงหรือเป็นแหล่งกำเนิดแสงคือ LED หรือเลเซอร์ไดโอด อุปกรณ์ส่งแสงนี้ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสง ส่วนอุปกรณ์รับแสงและเปลี่ยนกลับมาเป็นสัญญาณไฟฟ้า คือ โฟโต้ไดโอดอุปกรณ์ส่งแสงหรือ LED ใช้พลังงานเพียง 45 ไมโครวัตต์ สำหรับใช้กับเส้นใยแก้วนำแสงแบบ 62.5/125 การพิจารณาอุปกรณ์นี้ต้องดูที่แถบคลื่นแสง โดยปกติใช้คลื่นแสงย่าน ความยาวคลื่นประมาณ 25-40 นาโนเมตร ดังนั้นข้อกำหนดเชิงพิกัดของเส้นใยแก้วนำแสง จึงกล่าวถึงความยาวคลื่นแสงที่ใช้ในย่าน 850 นาโนเมตรตัวรับแสงหรือโฟโตไดโอดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้รับสัญญาณแสงและมีความไวต่อความเข้มแสง คลื่นแสงที่ส่งมามีการมอดูเลตสัญญาณข้อมูลเข้าไปร่วมด้วยอุปกรณ์ตัวรับและตัวส่งแสงนี้มักทำมาสำเร็จเป็นโมดูล โดยเฉพาะเชื่อมต่อเข้ากับสัญญาณข้อมูลที่เป็นไฟฟ้าได้โดยตรง และทำให้สะดวกต่อการใช้งานการเชื่อมต่อ และหัวต่อที่ปลายสายแต่ละเส้นจะมีหัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับเส้นใยแก้วนำแสง แสงจะผ่านหัวต่อไปยังอีกหัวต่อโดยเสมือนเชื่อมต่อกันเป็นเส้นเดียวได้เมื่อเอาเส้นใยแก้วมาเข้าหัวที่ปลายแก้ว จะมีลักษณะที่ส่งสัญญาณแสงออกมาได้ และต้องให้กำลังสูญเสียต่ำที่สุด ดังนั้นจึงมีวิธีที่จะทำให้ปลายท่อแก้วราบเรียบที่จะเชื่อมสัญญาณ แสงต่อไปได้ดังนั้นก่อนที่จะเข้าหัวต่อจึงต้องมีการฝนปลายท่อแก้ว วิธีการฝนปลายท่อแก้วนี้หลายวิธี เช่น การฝนแบบแบนราบ (Flat) การฝนแบบ PC และแบบ APC แต่ละแบบแสดงได้ ดังรูปที่ 4การกระทำแต่ละแบบจะให้การลดทอนสัญญาณต่างกัน และยังต้องให้มีแสงสะท้อนกลับน้อยสุดเท่าที่จะน้อยได้ ลักษณะของหัวต่อเมื่อเชื่อมถึงกันแล้วจะต้องให้ผิวสัมผัส การส่งแสงส่องทะลุถึงกัน เพื่อให้กำลังสูญเสียความเข้มแสงน้อยสุด โดยปกติหัวต่อที่ทำการฝนแก้วแบบแบนราบมีกำลังสูญเสียสูงกว่าแบบอื่น คือประมาณ -30 dB แบบ PC มีการสูญเสียประมาณ -40 dB และแบบ APC มีการสูญเสียความเข้มน้อยสุดคือ -50 dBลักษณะของหัวต่อเมื่อเชื่อมต่อถึงกันแสดงดังรูปที่ 5รูปที่ 3 โครงสร้างของเส้นใยแก้วนำแสงรูปที่ 4 การฝนปลายก่อนเข้าหัวสายรูปที่ 5 เมื่อให้ปลายหัวต่อเชื่อมกันระหว่างแบบตัวผู้และแบบตัวเมียรูปที่ 6 หัวต่อเส้นใยแก้วนำแสงแบบ STการประยุกต์ใช้เส้นใยแก้วนำแสงแนวโน้มการใช้งานเส้นใยแก้วนำแสงได้เป็นรูปธรรมที่เด่นชัดขึ้น ทั้งนี้เพราะมีผู้พัฒนาเทคโนโลยีให้รองรับกับการใช้เส้นใยแก้วนำแสง โดยเน้นที่ความเร็วของการรับส่งสัญญาณ เส้นใยแก้วนำแสงมีข้อเด่นในเรื่องความเชื่อถือสูง เพราะปราศจากการรบกวน อีกทั้งยังสามารถใช้กับเทคโนโลยีได้หลากหลาย และรองรับสิ่งที่จะเกิดใหม่ในอนาคตได้มากตัวอย่างการใช้งานต่อไปนี้เป็นรูปแบบให้เห็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ในอาคาร ในสำนักงาน โดยสามารถเดินสายสัญญาณด้วยเส้นใยแก้วนำแสงตามมาตรฐานสากล คือ มีสายในแนวดิ่ง และสายในแนวราบ สายในแนวดิ่งเชื่อมโยงระหว่างชั้น ส่วนสายในแนวราบเป็นการเชื่อมจากผู้ใช้มาที่ชุมสายแต่ละชั้นรูปแบบไดอะแกรมการเดินสายทั่วไปประกอบด้วย โครงสร้างดังรูปที่ 7 จากลักษณะของการเดินสายตามมาตรฐาน EIA 568 นี้ สามารถนำมาใช้กับเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้มาก เช่นรูปที่ 7 โครงสร้างการเดินสายสัญญาณ ตามมาตรฐาน EIA 568รูปที่ 8 โครงสร้างการเดินสายสัญญาณเพื่อใช้กับเส้นใยแก้วนำแสงการใช้เทคโนโลยี 10BASE Fการใช้อีเธอร์เน็ตแบบ 10BASEF เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาให้ใช้กับเทคโนโลยีอีเธอร์เน็ตโดยตรง ความเร็วสัญญาณยังคงอยู่ที่ 10 เมกะบิต และหากเป็น 10BASE ก็เป็น ความเร็ว 10 เมกะบิต ขณะนี้มีการพัฒนาระบบอีเธอร์เน็ตให้เป็นแบบกิกะบิตอีเธอร์เน็ต หรือความเร็วสัญญาณอยู่ที่ 1,000 เมกะบิต การเดินสายด้วยเส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะ เหมือนกับสายยูทีพี โดยใช้ชิปเป็นตัวกระจายพอร์ตต่าง ๆ ดังแสดงในรูปที่ 8FDDIเทคโนโลยีนี้มีใช้มานานแล้ว เป็นเทคโนโลยีที่มีความเร็วของสัญญาณที่ 100 เมกะบิต และใช้สายสัญญาณเป็นเส้นใยแก้วนำแสง มีโครงสร้างเป็นวงแหวนสองชั้นและแตก กระจายออก การเดินสายสัญญาณตามมาตรฐาน EIA 568 ก็จัดให้เข้ากับ FDDI ได้ง่าย FDDI มีข้อดีคือสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายระยะไกลได้ มีจำนวนโหนดบน FDDI ได้ถึง 1,000 โหนด การจัดโครงสร้างต่าง ๆ ของ FDDI สามารถทำผ่านทางแพตช์ที่เชื่อมต่อให้ได้รูปตามที่ FDDI ต้องการ ในลูปวงแหวนหลักของ FDDI ต้องการ วงแหวนสองชั้น ซึ่งก็ต้องใช้เส้นใยแก้วนำแสงจำนวนทั้งหมด 4 ลำแสง FDDI ยังเป็นเครือข่ายหลักหรือแบ็กโบนเพื่อเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายอื่นได้ เช่น เชื่อมต่อกับอีเธอร์เน็ต กับโทเค็นริง ไดอะแกรมของ FDDI แสดงดังรูปที่ 9ATMเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาเพื่อรองรับการใช้งาน ที่ความเร็วสูงมาก เอทีเอ็มสามารถใช้ได้กับความเร็ว 155 เมกะบิต 622 เมกะบิต และสูงเกินกว่ากิกะบิตในอนาคต โครงสร้าง การเดินสายเอทีเอ็มมีลักษณะแบบดาว เป็นโครงสร้างการกระจายสายสัญญาณ ซึ่งตรงกับสภาพการใช้เส้นใยแก้วนำแสงอยู่แล้วลักษณะของแพตช์และการกระจายสายสัญญาณ เพื่อใช้กับเส้นใยแก้วนำแสงในลักษณะที่ปรับเปลี่ยนเข้ากับเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้แสดงไว้ในรูปที่ 10 การวางโครงสร้างของ สายสัญญาณเส้นใยแก้วจึงไม่แตกต่างกับสายยูทีพีอนาคตต้องเป็นเส้นใยแก้วนำแสงถึงแม้ว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันมีการใช้งานสายยูทีพีอย่างแพร่หลายและได้ประโยชน์มหาศาล แต่จากการพัฒนาเทคโนโลยีที่ต้องการให้ถนนของข้อมูลข่าวสารเป็นถนนขนาดใหญ่ ที่เรียกว่าซูเปอร์ไฮเวย์ การรองรับข้อมูลจำนวนมากและการประยุกต์ในรูปแบบมัลติมีเดียที่กำลังจะเกิดขึ้นย่อมต้องทำให้สภาพการใช้ข้อมูลข่าวสารต้องพัฒนาให้รองรับกับจำนวน ปริมาณข้อมูลที่จะมีมากขึ้นรูปที่ 8 โครงสร้างการเดินสายสัญญาณ เพื่อใช้กับเส้นใยแก้วนำแสงรูปที่ 9 ไดอะแกรมการเชื่อมโยงของ FDDIรูปที่ 10 การวางโครงสร้างสายเพื่อเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ต่าง ๆจึงเชื่อแน่ว่า เส้นใยแก้วนำแสงจะเป็นสายสัญญาณที่ก้าวเข้ามาในยุคต่อไป และจะมีบทบาทเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นแล้วเราคงจะได้เห็นอาคารบ้านเรือน สำนักงาน หรือ โรงงาน มีเส้นใยแก้วนำแสงเดินกระจายกันทั่ว เหมือนกับที่เห็นสายไฟฟ้ากำลังอยู่ในขณะนี้ และเหตุการณ์เหล่านี้

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2551

1. Router มีกี่โหมด อะไรบ้าง อธิบายให้ละเอียด

Routing มีอยู่ 2 แบบ หลักๆ ได้แก่- แบบสเตติก แบบไดนามิก
Static คือ การเลือกเส้นทางแบบ Static นี้ การกำหนดเส้นทางการคำนวณเส้นทางทั้งหมด กระทำโดยผู้บริหาจัดการเครือข่าย ค่าที่ถูกป้อนเข้าไปในตารางเลือกเส้นทางนี้มีค่าที่ตายตัว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆ บนเครือข่าย จะต้องให้ผู้บริหารจัดการดูแล เครือข่า เข้ามาจัดการทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีการใช้ วิธีการทาง Static เช่นนี้ มีประโยชน์เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมดังนี้
  • เหมาะสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก
  • เพื่อผลแห่งการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เนื่องจากสามารถแน่ใจว่า ข้อมูลข่าวสารจะต้องวิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดไว้ให้ ตายตัว
  • ไม่ต้องใช้ Software เลือกเส้นทางใดๆทั้งสิ้น
  • ช่วยประหยัดการใช้ แบนวิดท์ของเครือข่ายลงได้มาก เนื่องจากไม่มีปัญหาการ Broadcast หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Router ที่มาจากการใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทาง

การจัดตั้ง Configuration สำหรับการเลือกเส้นทางแบบ Staticเป็นที่ทราบดีแล้วว่า การเลือกเส้นทางแบบ Static เป็นลักษณะการเลือกเส้นทางที่ถูกกำหนดโดยผู้จัดการเครือข่าย เพื่อกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ตายตัว หรือเจาะจงเส้นทางปกติ Router สามารถ Forward Packet ไปข้างหน้า บนเส้นทางที่มันรู้จักเท่านั้น ดังนั้นการกำหนดเส้นทางเดินของแพ็กเก็ตให้กับ Router จึงควรให้ความระมัดระวังวิธีการจัด Configure แบบ Static Route ให้กับ Router Cisco ให้ใส่คำสั่ง ip route ลงไปที่ Global Configuration Mode มีตัวอย่างการใช้คำสั่ง ดังนี้

ip route network [ mask ] {address interface} [distance] [permanent]

  • Network เครือข่าย หรือ Subnet ปลายทาง
  • Mask หมายถึงค่า Subnet mask
  • Address IP Address ของ Router ใน Hop ต่อไป
  • Interface ชื่อของ Interface ที่ใช้เพื่อเข้าถึงที่หมายปลายทาง
  • Distance หมายถึง Administrative Distance
  • Permanent เป็น Option ถูกใช้เพื่อกำหนด เส้นทางที่ตั้งใจว่าจะไม่มีวันถอดถอนทิ้ง ถึงแม้ว่า จะปิดการใช้งาน Interface ก็ตาม

dynamic คือ

Exterior Gateway Routing Protocol

Distance Vector Routing Protocol

Link State Routing Protocol

เนื่องจาก จุดประสงค์ของการเขียนบทความนี้ ก็เพื่อให้ท่านผู้อ่านมีแนวคิดในการจัดตั้งเครือข่ายและอุปกรณ์ Router เพื่อเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย และเนื่องจากขอบข่ายของหลักวิชาการด้านนี้ ค่อนข้างกว้าง จึงขอตีกรอบให้แคบลง โดยจะขอกล่าวถึงรายละเอียดเพียงบางส่วนในการจัดตั้ง Router ที่ท่านสามารถนำไปใช้ได้ รู้จักกับ Distance Vector Routing Protocol Distance Vector เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางที่ Router ใช้เพื่อการสร้างตาราง Routing และจัดการนำแพ็กเก็ต ส่งออก ไปยังเส้นทางที่กำหนด โดย อาศัยข้อมูลเกี่ยวกับระยะทาง เช่น Hop เป็นตัวกำหนดว่า เส้นทางใดเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด ที่จะนำแพ็กเก็ตส่งออกไปที่ปลายทาง โดยถือว่า ระยะทางที่ใกล้ที่สุด เป็นเส้นทางที่ดีที่สุด และแอดเดรส ของเครือข่ายปลายทางเป็น Vector

Distance Vector บางครั้งจะถูกเรียกว่า "Bellman-Ford Algorithm" ซึ่งโปรโตคอลนี้ จะทำให้ Router แต่ละตัว ที่อยู่บนเครือข่ายจะต้องเรียนรู้ลักษณะของ Network Topology โดยการแลกเปลี่ยน Routing Information ของตัวมันเอง กับ Router ที่เชื่อมต่อกันเป็นเพื่อนบ้าน โดยตัว Router เองจะต้องทำการจัดสร้างตารางการเลือกเส้นทางขึ้นมา โดยเอาข้อมูล ข่าวสารที่ได้รับจากเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรง ( ข้อมูลนี้ครอบคลุมไปถึงระยะทางระหว่าง Router ที่เชื่อมต่อกัน)หลักการทำงานได้แก่การที่ Router จะส่งชุด สำเนาที่เป็น Routing Information ชนิดเต็มขั้นของมันไปยัง Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่ออยู่กับมันโดยตรง ด้วยการแลกเปลี่ยน Routing Information กับ Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงนี้เอง ทำให้ Router แต่ละตัว จะรู้จักซึ่งกันและกัน หรือรู้เขารู้เรา กระบวนการแลกเปลี่ยนนี้ จะดำเนินต่อไปเป็นห้วงๆ ของเวลาที่แน่นอน

Distance Vector Algorithm ค่อนข้างเป็นแบบที่เรียบง่าย อีกทั้งออกแบบเครือข่ายได้ง่ายเช่นกัน ปัญหาหลักของของ Distance Vector Algorithm ได้แก่ การคำนวณเส้นทาง จะซับซ้อนขึ้น เมื่อขนาดของเครือข่ายโตขึ้นตัวอย่างของโปรโตคอลที่ทำงานภายใต้ Distance Vector Algorithm ได้แก่ อาร์ไอพี (RIP) หรือ Routing Information Protocol

Link State Routing

Link State Routing ถูกเรียกว่า "Shortest Path First (SPF)" Algorithm ด้วย Link State Routing นี้ Router แต่ละตัวจะทำการ Broadcast ข้อมูลข่าวสารออกมายัง Router ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงแบบเป็นระยะๆ ข้อมูลข่าวสารนี้ยังครอบคลุมไป ถึงสถานะของการเชื่อมต่อระหว่างกันด้วยวิธีการของ Link State นี้ Router แต่ละตัวจะทำการสร้างผังที่สมบูรณ์ของเครือข่ายขึ้น จากข้อมูลที่มันได้รับจาก Router อื่นๆทั้งหมด จากนั้นจะนำมาทำการคำนวณเส้นทางจากผังนี้โดยใช้ Algorithm ที่เรียกว่า Dijkstra Shortest Path AlgorithmRouter จะเฝ้าตรวจสอบดูสถานะของการเชื่อมต่ออย่างต่อเนื่อง โดยการแลกเปลี่ยนระหว่างแพ็กเก็ตกับ Router เพื่อนบ้าน แต่หาก Router ไม่ตอบสนองต่อความพยายามที่จะติดต่อด้วย หลายๆครั้ง การเชื่อมต่อก็จะถือว่าตัดขาดลง แต่ถ้าหากสถานะ ของ Router หรือการเชื่อมต่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลข่าวสารนี้จะถูก Broadcast ไปยัง Router ทั้งหมดที่อยู่ในเครือข่าย

การจัดตั้ง Configure ให้กับวิธี การจัดเลือกเส้นทางแบบ Dynamicในการจัดตั้งค่าสำหรับการเลือกเส้นทาง (Routing) แบบ Dynamic จะมี 2 คำสั่งสำหรับการใช้งาน ได้แก่ คำสั่ง Router และ Network โดยคำสั่ง Router เป็นคำสั่งที่ทำให้เริ่มต้นการเกิดกระบวนการเลือกเส้นทางขึ้น รูปแบบของคำสั่งมีดังนี้

Router (config)#router protocol [keyword]ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายรายละเอียดของรูปแบบคำสั่งProtocol เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบใดแบบหนึ่ง ระหว่าง RIP IGRP OSPF หรือ Enhanced IGRPKeyword ตัวอย่าง เช่น เลขหมายของ Autonomous ซึ่งจะถูกนำมาใช้กับโปรโตคอลที่ต้องการระบบ Autonomous ได้แก่ โปรโตคอล IGRPคำสั่ง Network ก็เป็นคำสั่งที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเช่นกัน เนื่องจากมันสามารถกำหนดว่า Interface ใดที่จะเกี่ยวข้องกับการรับหรือส่ง Packet เพื่อการ Update ตารางเลือกเส้นทาง ขณะเกิดกระบวนการเลือกเส้นทางขึ้นคำสั่ง Network จะเป็นคำสั่งที่ทำให้ โปรโตคอลเลือกเส้นทางเริ่มต้นทำงานบน Interface ต่างๆ ของ Router อีกทั้งยังทำให้ Router สามารถโฆษณาประชาสัมพันธ์เครือข่ายที่ตนดูแลอยู่ ได้อีกด้วย รูปแบบของคำสั่งมีดังนี้Router (config-router)#network network- numberNetwork-number ในที่นี้หมายถึง เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันโดยตรง และ Network Number จะต้องอยู่ในมาตรฐาน เลขหมาย ของ INTERNIC

1. Interior Gateway Routing Protocol

2.Exterior Gateway Routing Protocol

3. Distance Vector Routing Protocol

4. Link State Routing Protocol

Interior เป็น Protocol ที่ใช้แลกเปลี่ยนฐานความรู้ระหว่าง Roter ภายในองค์กรเดียวกัน ซึ่งได้แก่ RIP , IGRP ,EIGRP และ OSPF Exterior เป็น Protocol ที่ใช้แลกเปลี่ยนฐานความรู้ต่างองค์กรกันหรือความน่าเชื่อถือต่างกัน ซึ่งได้แก่ BGP, EGP Distance Vector เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางที่ Router ใช้เพื่อการสร้างตาราง Routing และจัดการนำแพ็กเก็ตส่งออกไปยังเส้นทางที่กำหนด โดย อาศัยข้อมูลเกี่ยวกับระยะทาง เช่น Hop เป็นตัวกำหนดว่า เส้นทางใดเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด ที่จะนำแพ็กเก็ตส่งออกไปที่ปลายทาง โดยถือว่า ระยะทางที่ใกล้ที่สุด เป็นเส้นทางที่ดีที่สุด และแอดเดรส ของเครือข่ายปลายทางเป็น VectorLink State Routing ถูกเรียกว่า "Shortest Path First (SPF)" Algorithm ด้วย Link State Routing นี้ Router แต่ละตัวจะทำการ Broadcast ข้อมูลข่าวสารออกมายัง Router ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงแบบเป็นระยะๆ ข้อมูลข่าวสารนี้ยังครอบคลุมไปถึงสถานะของการเชื่อมต่อระหว่างกันRouting Protocols (เส้นทางการเชื่อมต่อ)Exterior routing Protocol (EGP) เป็นโปรโตคอล สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ router ระหว่าง 2 เครือข่ายของ gateway host ในระบบเครือข่ายแบบอัตโนมัติ ซึ่ง EGP มีการใช้โดยทั่วไป ระหว่าง host บนอินเตอร์เน็ต เพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศของตาราง routing โดยตาราง routing ประกอบด้วยรายการ router ตำแหน่งที่ตั้ง และเมทริกของค่าใช้จ่ายของแต่ละ router เพื่อทำให้สามารถเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด กลุ่มของ router แต่ละกลุ่มจะใช้เวลาภายใน 120 วินาที ถึง 480 วินาที ในการส่งข้อมูลส่งตาราง routing ทั้งหมดไปยังเครือข่ายอื่น ซึ่ง EGP -2 เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ EGP Border Gateway Protocol (BGP) เป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่าง gateway host (ซึ่งแต่ละที่จะมี router ของตัวเอง) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ BGP มักจะได้รับการใช้ระหว่าง gateway host บนระบบอินเตอร์เน็ต ตาราง routing ประกอบด้วยรายการของ router ตำแหน่งและตารางค่าใช้จ่าย (cost metric) ของเส้นทางไปยังrouterแต่ละตัวเพื่อการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด host ที่ใช้การติดต่อด้วยประเภทของ Routing ภายใน Network ที่เชื่อมต่อกับเนตเวิคโดยตรงRouting Information Protocol (RIP) เป็นโปรโตคอลที่ใช้อย่างกว้างขวาง สำหรับการจัดการสารสนเทศของ router ภายในเครือข่าย เช่น เครือข่าย LAN ของบริษัท หรือการติดต่อภายในกลุ่ม ของเครือข่าย RIP ได้รับการจัดชั้นโดย Internet Engineering Task Force (IETF) ให้เป็นหนึ่งในโปรโตคอลของInternet Gateway Protocol (หรือ InteriorGatewayProtocol)Open Shortest Path First (OSPF) ถือเป็น เร้าติ้งโปรโตคอล (Routing Protocol) ตัวหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในระบบเน็ตเวิร์ก เนื่องจากมีจุดเด่นในหลายด้าน เช่น การที่ตัวมันเป็น Routing Protocol แบบ Link State, การที่มีอัลกอรึทึมในการค้นหาเส้นทางด้วยตัวเอง ซึ่งเปรียบเสมือนว่า ตัวของ เราเตอร์ที่รัน OSPF ทุกตัวเป็นรูท (Root) หรือ จุดเริ่มต้นของระบบไปยังกิ่งย่อยๆ หรือโหนด (Node) ต่างๆ ซึ่งเป็นเทคนิคในการลดเส้นทางที่วนลูป (Routing Loop) ของการ Routing ได้เป็นอย่างดี

Enhance Interior Gateway Routing Protocol (EIGRP) นั้นถือได้ว่าเป็น เราติ้งโปรโตคอลที่มีความรวดเร็วสูงสุดของซิสโก้ในการค้นหาเส้นทางภายใน Intra-AS (Interior Routing Protocol: เราติ้งโปรโตคอลภายใน Autonomous System) ซึ่ง ในเราติ้งโปรโตคอลแบบ EIGRP นี้ จะเป็นการนำเอาข้อดีของการเราติ้งแบบ Distance Vector และ Link State มาผสมผสานกัน (ในหนังสือบางเล่มจะเรียก เราติ้งโปรโตคอลแบบนี้ว่า “Hybrid” (ลูกผสม) หรือ Advanced Distance Vector)

2.จงบอกคำสั่งในแต่ละโหมดมาอย่างน้อย 5 คำสั่ง

access-enable เป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราว

clear เป็นการ reset ค่า configure ต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราว

connectใ ช้เพื่อ เปิด connection กับ terminal

disable ปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged mode

disconnect ยกเลิกการเชื่อมต่อใดๆกับ network

enable เข้าสู่ privileged Exec mode

exit ออกจากการใช้ User Exec mode

helpใช้เพื่อแสดงรายการ help

lat เปิดการเชื่อมต่อกับ LAT (เครือข่าย VAX)

lock ใช้เพื่อ lock terminal

login loginเข้ามาเป็น user

logout exit ออกจาก EXEC

mrinfo ใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้านจาก multicast router ตัวหนึ่ง

mstat แสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router แล้ว

mtrace ใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทาง

name-connection เป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่

pad เปิดการเชื่อมต่อ X.25 ด้วย X.29 PAD

Ping ใช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อ

ppp ใช้เรียกการเชื่อมต่อแบบ PPP

resume ใช้เพื่อการ กลับเข้าสู่การเชื่อมต่อของเครือข่ายอีกครั้ง

rlogin เปิดการเชื่อมต่อ remote Login กับ Server ระยะไกล

show แสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของ Router ในปัจจุบัน

slip เริ่มการใช้งาน Slip (serial line protocol)

where แสดงรายการ ของ Link ที่กำลัง Active ในปัจจุบัน

telnet เป็นการเปิด การเชื่อมต่อทาง Telnet

terminal เป็นการจัด Parameter ของ Terminal Line

traceroute เป็นการใช้ Traceroute เพื่อการติดตามไปดู ระบบที่อยู่ปลายทาง

tunnel เปิดการเชื่อมต่อแบบ Tunnel

systat เป็นการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Terminal Line เช่นสถานะของระบบ

3. Command prompt ในโหมดต่างๆ

ตอบ Command Mode

Command Mode หลักภายใน Cisco IOS ได้แก่

User Exec Mode

Privileged Exec Mode

Global Configuration Mode

Interface Configuration

Boot Mode

4. Use exec mode พร้อมรายละเอียด

ตอบ Command Mode หลักภายใน Cisco IOS ได้แก่User Exec ModePrivileged Exec ModeGlobal Configuration ModeInterface ConfigurationBoot ModeUser Exec ModeUser Exec Mode เป็นโหมดแรกที่ท่านจะต้อง Enter เข้าไป เมื่อRouter เริ่มทำงาน วิธีที่จะรู้ว่าท่านได้เข้าสู่ User Exec Mode จาก Prompt ของ Router ได้แก่ Prompt ที่แสดงบนหน้าจอ ได้แก่ ชื่อของ Router แล้วตามด้วยเครื่องหมาย > เช่นRouterhostname >ต่อไปนี้ เป็นตารางแสดงรายการคำสั่ง ภายใต้ User Exec Commandsตารางที่ 1แสดงรายการคำสั่ง ภายใต้ User Exec Commandsคำสั่งaccess-enableเป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราวclearเป็นการ reset ค่า configure ต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราวconnectใช้เพื่อ เปิด connection กับ terminaldisableปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged modedisconnectยกเลิกการเชื่อมต่อใดๆกับ networkenableเข้าสู่ privileged Exec modeexitออกจากการใช้ User Exec modehelpใช้เพื่อแสดงรายการ helplatเปิดการเชื่อมต่อกับ LAT (เครือข่าย VAX)lockใช้เพื่อ lock terminalloginloginเข้ามาเป็น userlogoutexit ออกจาก EXECmrinfoใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้านจาก multicast router ตัวหนึ่งmstatแสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router แล้วmtraceใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทางname-connectionเป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่padเปิดการเชื่อมต่อ X.25 ด้วย X.29 PADPingใช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อpppใช้เรียกการเชื่อมต่อแบบ PPPresumeใช้เพื่อการ กลับเข้าสู่การเชื่อมต่อของเครือข่ายอีกครั้งrloginเปิดการเชื่อมต่อ remote Login กับ Server ระยะไกลshowแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของ Router ในปัจจุบันslipเริ่มการใช้งาน Slip (serial line protocol)systatเป็นการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Terminal Line เช่นสถานะของระบบtelnetเป็นการเปิด การเชื่อมต่อทาง Telnetterminalเป็นการจัด Parameter ของ Terminal Linetracerouteเป็นการใช้ Traceroute เพื่อการติดตามไปดู ระบบที่อยู่ปลายทางtunnelเปิดการเชื่อมต่อแบบ Tunnelwhereแสดงรายการ ของ Link ที่กำลัง Active ในปัจจุบัน

การสอบ CertiFicate

การสอบ Certificate
Certificateประกาศนียบัตรในผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้น เป็นเสมือนสิ่งที่รับรองบุคคลว่าบุคคลที่ได้รับประกาศนียบัตรนั้นมีความรู้ความชำนาญในเรื่องของผลิตภัณฑ์นั้นสามารถที่จะทำงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์นั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลายบริษัทและองค์กรต่างมีการออกประกาศนียบัตรเพื่อรับรองถึงคุณภาพของบุคลากรที่ได้รับประกาศนียบัตรของตนซึ่งต้องมีการทดสอบในเรื่องความรู้และความชำนาญในผลิตภัณฑ์ของตนบทความนี้เป็นการบอกเล่าถึงประกาศนียบัตรประเภทต่างๆ ของแต่ละบริษัท เช่น ไมโครซอฟท์ ซิสโก้ ซัน และโนเวล นอกจากนี้ในตอนท้ายมีขั้นตอนในการเตรียมพร้อมเพื่อให้สามารถประสบความสำเร็จในการสอบใบประกาศนียบัตรหากกล่าวถึงเรื่องของประกาศนียบัตร (Certificate) หรือใบรับรองความสามารถนั้น นับได้ว่าเป็นสิ่งที่รับรองถึงความรู้ความสามารถของบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอทีจนถึงขั้นที่ว่าเป็นมาตรฐานเลยทีเดียว ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ด้านคอมพิวเตอร์ของบริษัทผู้ผลิต และองค์กรบางองค์กรได้ออกประกาศนียบัตรเพื่อรับรองถึงคุณภาพของบุคลากรที่ได้รับประกาศนียบัตรของตน เทคโนโลยีในด้านต่างๆ มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยเฉพาะในส่วนของเทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์นั้นมีการพัฒนาปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา บริษัทและองค์กรต่างๆ ที่มีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ภายในองค์กรนั้น ย่อมต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ในด้านของเทคโนโลยีดังกล่าว เมื่อความรู้และเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง บุคลากรเหล่านั้ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จึงเป็นธรรมดาที่ต้องพัฒนายกระดับความรู้ความสามารถของตนเองให้สามารถทำงานกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงให้ได้ การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรทำได้หลายทาง ยกตัวอย่าง เช่น การศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง การสอบถามจากบุคคลอื่นที่มีความรู้และความชำนาญมากกว่า และการเข้ารับการอบรม เป็นต้น การสอบเพื่อให้ได้ใบประกาศนียบัตรเป็นหนึ่งในแนวทางการยกระดับความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากร รวมถึงองค์กรตลอดจนถึงระดับประเทศด้วย ปัจจุบัน เจ้าของผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้นมีการจัดสอบเพื่อวัดระดับความรู้ของบุคคลมีต่อผลิตภัณฑ์ของตนเพื่อที่จะสามารถประเมินได้อย่างคร่าวๆ ว่าบุคคลนั้นมีความรู้ความชำนาญในเรื่องของผลิตภัณฑ์มากน้อยเพียงไร บริษัทผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์อันเป็นที่นิยมอาทิเช่น ไมโครซอฟท์ ซัน ไมโครซิสเต็ม ซิสโก้ซิสเต็ม ออราเคิล และโนเวล ซึ่งประกาศนียบัตรของแต่ละผลิตภัณฑ์มีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป เรามาลองพิจารณารายละเอียดประกาศนียบัตรต่างๆ ของผู้ผลิตซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้นกัน


-------------------------------------------------------------------------------------------------

1. Cisco Certified Network Associate (CCNA)เป็นประกาศนียบัตรที่ผู้ที่ได้รับต้องมีความรู้ในเรื่องของระบบเครือข่าย สามารถติดตั้งและดูแลจัดการระบบเครือข่ายขนาดเล็กได้ CCNA นี้ไม่มีวิชาบังคับที่ต้องได้รับมาก่อน (Exam Prerequisite) เมื่อสอบผ่านวิชาใดวิชาหนึ่ง ก็สามารถได้รับประกาศนียบัตรนี้ ค่าใช้จ่ายในการสอบ 8, 000บาท

-------------------------------------------------------------------------------------------------

2. Cisco Certified Network Professional (CCNP)เป็นประกาศนียบัตรที่ผู้ที่ได้รับต้องมีความรู้เป็นอย่างดีในเรื่องของระบบเครือข่าย สามารถติดตั้งและดูแลจัดการระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ได้ การที่จะสามารถสอบ CCNP ได้ต้องสอบผ่าน CCNA มาก่อน ค่าใช้จ่ายในการสอบ 36,000บาท3.Cisco Certified Internetwork Expert (CCIE)เป็นประกาศนียบัตรขั้นสูงสุดในส่วนของ Network Installation and Support Certification และ Communication and Services Certificationฺค่าใช้จ่าบในการสอบ 140,000บาท

ข้อสอบเรือง เราเตอร์

ข้อสอบอัตนัย 10 ข้อ
1.เราเตอร์ คืออะไร
ตอบ เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานในระดับชั้นเน็ตเวิร์กตามรูปข้างล่างนี้ เราเตอร์ทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ในระดับเดทาลิงค์ได้หลายรูปแบบ

2.เราเตอร์ ทำหน้าที่อะไร
ตอบ ในการจัดหาเส้นทางเพื่อส่งแพ็กเก็ตข้อมูลไปยังเครือข่ายปลายทางที่ต้องการ

3.เราเตอร์มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับอะไร
ตอบ คล้ายกับ สวิตช์(Switch)

4.เราเตอร์ทำงานบนเลเยอร์ที่เท่าไรตามมาตรฐานของ OSI Model
ตอบ เราเทอร์ทำงานบนเลเยอร์ที่ 3 ตามมาตรฐานของ osi model

5.เราเตอร์จะรับข้อมูลเป็นรูปแบบใด
ตอบ แบบแพ็กเก็ต

6.อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยง คือ อะไร
ตอบ เราเตอร์

7.การป้องกันการกระจายสัญญาณ คืออะไร
ตอบ อุปกรณ์เราเตอร์ป้องกันการกระจายสัญญาณ ( Broadcast ) ข้ามเซกเมนต์

8.อะไรเป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายสองเครือข่ายที่แยกจากกัน
ตอบ บริดจ์

9.เราเตอร์มีความสามารถใช้โปรโตคอลได้หลากหลาย สิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คืออะไร
ตอบ ซอฟต์แวร์จัดการระบบเครือข่าย ( Network Operating System )

10.อุปกรณ์หลักในการเชื่อมโยงเครือข่าย คือ
ตอบ บริดจ์ เราเตอร์ และ สวิตซ์

ข้อสอบปรนัย 10 ข้อ
1.ข้อใดเป็นสัญญาณที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ ?
ก. สัญญาณดิจิตอล
ข. สัญญาณไมโครเวฟ
ค. สัญญาณอะนาลอก
ง. สัญญาณดาวเทียม

2.อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อ HUB คือ ?
ก. อุปกรณ์เชื่อมต่อหลายเครือข่าย
ข. เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายที่ต่างกัน
ค. อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ไม่มีการขยายสัญญาณ
ง. อุปกรณ์เชื่อมต่อที่มีการขยายสัญญาณ

3.สัญญาณทางอิเล็กทรกนิกส์มีกี่ชนิด ?
ก. 4 ชนิด
ข. 3 ชนิด
ค. 2 ชนิด
ง. 5 ชนิด

4. เราเตอร์จะรับข้อมูลเป็นรูปแบบใด
ก. แบบแพ็กเก็ต
ข. สัญญาณไมโครเวฟ
ค. สัญญาณอะนาลอก
ง.สัญญาณดิจิตอล

5.ในอินเทอร์เน็ตมักเรียกเราเตอร์ว่า อย่างไร
ก.ไอพีเราเตอร์ (IP router)
ข.พีซีเราเตอร์
ค.ดีอีเราเตอร์
ง.อีอีเราเตอร์

6.ไอพี เราเตอร์ ทำหน้าที่?
ก.เป็นจุดกำเนิดเครือข่าย
ข.ควบคุมระบบทั้งหมด
ค.ทำหน้าที่เลือกเส้นทางโดยสร้างแผนที่เครือข่ายและเก็บอยู่ในรูปตารางเส้นทาง
ง.ควบคุมการ์ดจอ

7.เราเตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานในระดับชั้นใด
ก.ระดับกลาง
ข.ระดับแรก
ค.ทุกระดับชั้น
ง.ระดับชั้นเน็ตเวิร์ก

8.เราเตอร์แบบรุ่นใดเป็นเราเตอร์ครบวงจร
ก.Cisco 1800 Series
ข.Cisco 3800
ค.Cisco 2802
ง.Cisco 2803

9. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย
ก.บริดจ์ (Bridge)
ข. เราเตอร์ (Router)
ค.สวิตช์ (Switch)
ง.แลนด์ (Lan)

10. เส้นการเชื่อมโยงของระหว่างเครือข่าย มีชื่อเรียกว่า
ก.Router Table
ข.Router
ค.Bridge
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย
1 .
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10.

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การเข้าสาย LAN

การเข้าสาย LAN การเข้าหัวสาย UTP นั้นมีอยู่สองมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้คือ TIA/EIA 568A และ 568B ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการเรียงลำดับสายจะแสดงดังตารางและรูปด้านล่าง


ข่าวด้านไอที

นายกว้าน สีตะธนี รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค ในฐานะเป็นประธานฯ กล่าวว่า เนคเทค ได้ร่วมมือกับริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด จัดอบรมหลักสูตร Linux Internal ในระหว่างวันที่ 23-27 มิถุนายน 2551 เพื่อยกระดับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ลินุกซ์ในประเทศไทยให้สามารถมีส่วนร่วมพัฒนาระบบปฏิบัติการในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งสร้างความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการพัฒนามากยิ่งขึ้น โดยเชิญวิทยากร Mr.Srivatsa Vaddagiri และ Mr.Bharata B Rao เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมบนลินุกซ์ จากประเทศอินเดีย พร้อมทั้ง Mr.Hugh D Miller ตัวแทนจากศูนย์ IBM ลินุกซ์ เทคโนโลยี เข้าร่วมบรรยาย ทั้งนี้มีเข้าอบรมอบรมหลักสูตร Linux Internal โดยเป็นบุคลากรจากภาครัฐและเอกชน อาจารย์มหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้น 55 คน
รองผอ. เนคเทค กล่าวต่อว่า ปัจจุบันการพัฒนาลินุกซ์ในประเทศไทยจะเป็นการปรับแต่งส่วนติดต่อผู้ใช้ (interface)ส่วนติดตั้ง (installer) และการแสดงผลรวมถึงภาษาถิ่น (Localization) เป็นหลัก ขณะที่ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการหรือส่วนติดต่ออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ไม่ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมจากฝั่งของประเทศไทย ทั้งนี้เนื่องจากความรู้และประสบการณ์ในการแก้ไขปรับแต่งตัวระบบปฏิบัติการ (Kernel)หรือส่วนติดต่อฮาร์ดแวร์ (Driver) นั้น จึงทำให้นักพัฒนาไทยมีน้อยมาก ดังนั้นการจัดการฝึกอบรมดังกล่าว จึงเป็นการส่งเสริมการพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สให้แพร่หลาย

ข้อสอบ

1 .อีเทอร์เน็ตถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทใด
ก.Xeoxr
ข.Xexor
ค.Xerox
ง.Xeorx

2. อีเทอร์เน็ตได้พัฒนามาจากรากฐานบนเครือข่ายแบบใด
ก. Packet
ข. Radio
ค. Packet Radio
ง. Bus

3. อีเทอร์เน็ตมีความเร็วในการถ่ายข้อมูลครั้งแรกกี่เมกกะบิตต่อวินาที
ก. 1 เมกะบิตต่อวินาที
ข. 2 เมกะบิตต่อวินาที
ค. 3 เมกะบิตต่อวินาที
ง. 4 เมกะบิตต่อวินาที

4. การนำเสนอข้อมูลออกเป็นส่วนๆเรียกว่าอะไร
ก. แพกกิ้ง
ข. แพกก้า
ค. แพกเก็ต
ง. แพกเกต

5. อีเทอร์เน็ตใช้วิธีการส่งสัณญาณแบบใด
ก. เบสแบนด์
ข .บอยแบนด์
ค. เบิร์นแบนด์
ง.แบนด์

6. ฟาส์ตอีเทอรร์เน็ตเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอะไร
ก. อีเทอร์เน็ตความเร็วต่ำ
ข.อีเทอร์เน็ตความเร็วสูง
ค. อีเทอร์เน็ตความเร็วช้า
ง.อีเทอร์เน็ตความเร็วปกติ

7. ฟาสต์อีเทอร์เน็ตได้ถูกออกแบบมาเพื่อติดตั้งเครือข่ายในรูปแบบใด
ก. ดาว
ข. วงแหวน
ค. กระจาย
ง. ต่อเนื่อง

8. เฟรมอีเทอร์เน็ตขนาดเล็กสุดจะมีความจุที่กี่ไบต์
ก. 72
ข. 75
ค. 85
ง. 82

9. ฟาส์ตอีเทอเน็ตไม่สนับสนุนในการเชื่อมต่อแบบใด
ก. วงแหวน
ข.ดาว
ค.แพกเกต
ง. บัส

10. อีเทอร์เน็ตความเร็วสูงแตกต่างจากอีเทอร์เน็ตอย่างไร
ก. การรับส่งข้อมูล
ข. สายCAT5e
ค. การ์ดเครือข่าย
ง. สายUTP

ข้อสอบปรนัยคำสั่งตรวจซ่อม

1. คำสั่ง Ping ใช้ในการตรวจสอบอะไร
ก. ค่าต่างๆในตัวเครื่อง
ข.ดูหมายเลขในตัวเครื่อง
ค. ตรวจสอบการเชื่อมต่อ
ง. ตรวจสอบการเดินทางปขั้วปลายทาง

2. คำสั่ง ipconfig ในการตรวจสอบอะไร
ก. ค่าต่างๆในตัวเครื่อง
ข.ดูหมายเลขในตัวเครื่อง
ค. ตรวจสอบการเชื่อมต่อ
ง. ตรวจสอบการเดินทางปขั้วปลายทาง
3. คำสั่ง ART ใช้ในการตรวจสอบอะไร
ก. ค่าต่างๆในตัวเครื่อง
ข.ดูหมายเลขในตัวเครื่อง
ค. ตรวจสอบการเชื่อมต่อ
ง. ตรวจสอบการเดินทางปขั้วปลายทาง

4. คำสั่ง nslooknp
ก. ค่าต่างๆในตัวเครื่อง
ข.ดูหมายเลขในตัวเครื่อง
ค. ตรวจสอบการเชื่อมต่อ
ง. ตรวจสอบการเดินทางปขั้วปลายทาง

5. วิธีใช้คำสั่ง Ping มีวิธีการแบบใด
ก. start --- Run ---ms-Dos Prompt
ข. start---Programs---ms-Dos prompt
ค. Start---program---Run
ง. start---shutdown---ok

6. ถ้าต้องการตรวจสอบ Option ของ Ping ควรใช้คำสั่งแบบใด
ก. Ping ?
ข. Ping /?
ค. Ping/=
ง.Ping

7. วิธีการตรวจสอบคำสั่ง Ping ใช้โปรแกรมใด
ก.shert
ข. Dos
ค. Run
ง. controipanal

8. คำสั่ง neststat ใช้ในการตรวจสอบอะไร
ก. ค่าต่างๆในตัวเครื่อง
ข.ดูหมายเลขในตัวเครื่อง
ค. ดูแลสถิติในระบบ
ง.ตรวจสอบขั้วปลายทาง

9. คำสั่งอื่นๆที่น่าสนใจคือคำสั่งอะไร
ก. Cast
ข. grat
ค. ipconfig/all
ง.Ping /?
10. คำสั่งในการตรวจซ่อมทั้งหมดมีกี่คำสั่ง
ก. 5
ข. 6
ค. 7
ง. 8

เฉลย

Ethernet

Ethernet
ความหมายของIEEE 802.3IEEE 802.3 หรือ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) เป็นเครือข่ายที่มีความเร็วสูงการส่งข้อมูล 10 เมกะบิตต่อวินาทีสถานีในเครือข่ายอาจมีโทโปโลยีแบบัสหรือแบบดาว IEEE ได้กำหนดมาตรฐานอีเทอร์เน็ตซึ่งทำงานที่ความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาทีไว้หลายประเภทตามชนิดสายสัญญาณเช่น• 10Base5 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอกเชียลแบบหนา (Thick Ethernet)ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 500 เมตร• 10Base2 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอ๊กเชียลแบบบาง (Thin Ethernet) ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 185 เมตร• 10BaseT อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบดาวซึ่งใช้ฮับเป็นศูนย์กลาง สถานีและฮับเชื่อมด้วยสายยูทีพี (Unshield Twisted Pair) ด้วยความยาวไม่เกิน 100 เมตรรูปที่ข้างล่าง แสดงถึงลักษณะเครือข่ายอีเทอร์เน็ตแยกตามประเภทของสายสัญญาณ รหัสขึ้นต้นด้วย 10 หมายถึงความเร็วสายสัญญาณ 10 เมกะบิตต่อวินาทีคำว่า “Base” หมายถึงสัญญาณชนิด “Base” รหัสถัดมาหากเป็นตัวเลขหมายถึงความยาวสายต่อเซกเมนต์ในหน่วยหนึ่งร้อยเมตร (5=500, 2 แทนค่า 185) หากเป็นอักษรจะหมายถึงชนิดของสาย เช่น T คือ Twisted pair หรือ F คือ Fiber opticsส่วนมาตรฐานอีเทอร์เน็ตความเร็ว 100 เมกกะบิตต่อวินาทีที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่100BaseTX และ 100BaseFX สำหรับอีเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบกิกะบิตอีเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ตัวอย่างของมาตรฐานกิกะบิตอีเทอร์เน็ตในปัจจุบันได้แก่ 100BaseT, 100BaseLX และ 100BaseSX เป็นต้น อีเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล ซีเอสเอ็มเอ/ซีดี (CSMA/CD : Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection) เป็นตัวกำหนดขั้นตอนให้สถานีเข้าครอบครองสายสัญญาณ ในขณะเวลาหนึ่งจะมีเพียงสถานีเดียวที่เข้าครองสายสัญญาณเพื่อส่งข้อมูลสถานีที่ต้องการส่งข้อมูลต้องการตรวจสอบสายสัญญาณว่ามีสถานีอื่นใช้สายอยู่หรือไม่ ถ้าสายสัญญาณว่างก็ส่งข้อมูลได้ทันที หากไม่ว่างก็ต้องคอยจนกว่าสายสัญญาณว่างจึงจะส่งข้อมูลได้ ขณะที่สถานีหนึ่ง ๆ กำลังส่งข้อมูลก็ต้องตรวจสอบสายสัญญาณไปพร้อมกันด้วยเพื่อตรวจว่าในจังหวะเวลาที่ใกล้เคียงกันนั้นมีสถานีอื่นซึ่งพบสายสัญญาณว่างและส่งข้อมูลมาหรือไม่ หากเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นแล้ว ข้อมูลจากทั้งสองสถานีจะผสมกันหรือเรียกว่า การชนกัน (Collision) และนำไปใช้ไม่ได้ สถานีจะต้องหยุดส่งและสุ่มหาเวลาเพื่อเข้าใช้สายสัญญาณใหม่ ในเครือข่ายอีเทอร์เน็ตที่มีสถานีจำนวนมากมักพบว่าการทานจะล่าช้าเพราะแต่ละสถานีพยายามยึดช่องสัญญาณเพื่อส่งข้อมูลและเกิดการชนกันเกือบตลอดเวลา โดยไม่สามารถกำหนดว่าสถานีใดจะได้ใช้สายสัญญาณเมื่อเวลาใด อีเทอร์เน็ตจึงไม่มีเหมาะกับการใช้งานในระบบจริง

2.10 Base 210 Base 2 เป็นรูปแบบต่อสายโดยใช้สาย Coaxialมีเส้นศูนย์กลาง 1/4 นิ้ว เรียกว่า Thin Coaxial สายจะมีความยาวไม่เกิน 180 เมตรมาตรฐาน 10 Base 2 ความหมาย 10 คือความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps Baseคือการส่งข้อมูลแบบ Baseband 2 คือความยาวสูงสุด 200 เมตร (185 – 200 เมตร ) 10 Base 2 เป็นแบบเครือข่ายที่ใช้สาย Coaxial แบบบาง (Thin Coaxial) ชนิด RG-58 A/U โดยจะมี Teminator (50 โอมห์ ) เป็นตัวปิดหัว และท้ายของเครือข่ายข้อกำหนดของ 10 Base 2• ใช้สาย Thin Coaxial ชนิด RG-58 A/U• หัวที่ใช้ต่อกับสายคือ หัว BNC• ห้ามต่อหัว BNC เข้ากับ LAN Card โดยตรง ต้องต่อด้วย T-Connector เท่านั้น• เครื่องตัวแรกและตัวสุดท้ายในเครือข่าย ต้องปิดด้วย Terminator ขนาด 50 โอมห์• ความยาวของสายแต่ละเส้นที่ต่อระหว่าง Workstation ต้องมีความยาวไม่ต่ำกว่า 0.5 เมตร• สายสัญญาณต่อ 1 Segment ยาวไม่เกิน 200 เมตร (185 – 200 เมตร )• ใน 1 Segment สามารถต่อเป็นเครือข่ายได้ไม่เกิน 30 เครื่อง• ในกรณีที่ต้องการต่อมากกว่า 30 เครื่อง ต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Repeater เพื่อเพิ่ม Segment โดยสามารถต่อ Repeater ได้ไม่เกิน 4 Repeater ( ดังนั้น 4 Repeater = 5 Segment)• ความยาวของสายสัญญาณทั้งหมด สูงสุด 1000 เมตร (200 เมตรต่อ 1 Segment คูณด้วย 5 Segment)• จำนวนเครื่องสูงสุดในเครือข่าย 150 เครื่อง (30 เครื่องต่อ 1 Segment คูณด้วย 5 Segment)3.

10 Base 5ความหมาย 10 คือความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps Base คือการส่งข้อมูลแบบ Baseband• คือความยาวสูงสุด 500 เมตร 10 Base 5 เป็นแบบเครือข่ายที่มีลักษณะคล้ายกับ 10 Base 2แต่จะใช้สาย Coaxial แบบหนา (Thick Coaxial หรือ Back Bone)เป็นสายชนิด RG-8 ซึ่งสายจะเป็นสีเหลืองและมีขนาดใหญ่โดย Teminator (50 โอมห์ ) เป็นตัวปิดหัวและท้ายของเครือข่าย เครือข่ายชนิด 10 Base 5 นี้ จะมีต่อจำนวนเครื่องได้มากกว่าและต่อในระยะได้ไกลกว่าแบบ 10 Base 2 แต่ในปัจจุบันมักไม่นิยมใช้กันเนื่องจากต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ควรทราบ มีดังนี้แผงวงจรเครือข่าย (LAN Card) คือแผงวงจรเครือข่ายที่เสียบไว้กับตัวเครื่อง และเชื่อมต่อด้วยสายเพื่อต่อเป็นเครือข่ายโดยแผงวงจรเครือข่ายนี้จะมีหัวเสียบเป็นชนิด DIX Connector Socket ( LAN Card ) ชนิด AUIใช้กับมาตรฐาน 10 Base 5ข้อกำหนดของ 10 Base 5• ใช้สาย Thick Coaxial ชนิด RG-8• หัวที่ใช้ต่อกับสายคือหัว DIX หรือบางทีอาจจะเรียกว่า หัว AUI• เครื่องตัวแรกและตัวสุดท้ายในเครือข่ายต้องปิดด้วย N-Series Terminator ขนาด 50 โอมห์• ระยะห่างระหว่าง Transceiver ต้องไม่ต่ำกว่า 2.5 เมตร• Transceiver Cable จะมีความยาวได้ไม่เกิน 50 เมตร• ใน 1 Segment สามารถต่อเป็นเครือข่ายได้ไม่เกิน 100 เครื่อง• สายสัญญาณต่อ 1 Segment ยาวไม่เกิน 500 เมตร• ในกรณีที่ต้องการต่อมากกว่า 100 เครื่อง ต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Repeaterเพื่อเพิ่มSegment โดยสามารถต่อ Repeater ได้ไม่เกิน 4 Repeater (ดังนั้น 4 Repeater = 5 Segment)• ความยาวของสายสัญญาณทั้งหมด สูงสุด 2,500 เมตร (500 เมตรต่อ 1 Segment คูณด้วย 5 Segment )• จำนวนเครื่องสูงสุดในเครือข่าย 500 เครื่อง (100 เครื่องต่อ Segment คูณด้วย 5 Segment )4.100 Base F100Base-Fสาย AMP OSP (Outside Plant) ถูกออกแบบมาเฉพาะเพื่อการติดตั้งในพื้นที่ขนาดใหญ่เพราะสามารถติดตั้งไว้บนเสาโยง หรือลอดท่อใต้ดิน เพื่อเชื่อมต่อระหว่างอาคาร สายถูกทดสอบตามมาตรฐาน TIA ซึ่งเป็นข้อกำหนดสำหรับสายไฟเบอร์ออปกติ ทั้งยังมีคุณสมบัติเกินมาตรฐานไปอีกขั้นจึงรองรับได้ทั้ง 100Base-F, 155/622 Mbps ATM และกิกะบิตอีเธอร์เน็ต5.100BASE-FX 100BASE-FX Multimode LC SFP Transceiver(P/N: DEM-211) มอบประสิทธิภาพการทำงานระดับสูงให้กับแอพพลิเคชันการสื่อสารข้อมูลแบบซีเรียลออพติคัลดาต้า นอกจากนั้นยังประกอบด้วยตัวเชื่อมต่อที่มีการทำงานแบบดูเพล็กซ์ LC รวมถึงยังสามารถใช้งานร่วมกับมาตรฐานการสื่อสารแบบ IEEE 802.3u เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นเป็น 100 เมกะบิตต่อวินาที ในโหมดฮาฟดูเพล็กซ์สำหรับแอพพลิเคชันเคเบิลไฟเบอร์ทั้งนี้การอินทริเกรทตัวรับส่งคุณภาพสูงของดีลิงค์นั้นก็เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นปราศจากอาการกระตุกของสัญญาณ และเพื่อให้การเชื่อมต่อแบบออพติคัลสามารถขยายออกไปได้มากยิ่งขึ้นโดยไม่มีการลดประสิทธิภาพลง อุปกรณ์นี้จึงช่วยให้การถ่ายโอนข้อมูลในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะทางที่ไกลๆ ทั้งในส่วนของการใช้งานภายในอาคาร โรงงาน แคมปัสและในตัวเมืองมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น และเมื่อสวิตช์ 2 ตัวมีการเชื่อมต่อกันแล้วโดยใช้ตัวรับส่ง DEM-211 ทั้ง 2 ทาง ผู้ใช้งานจะได้รับอัตราเร็วของการเชื่อมต่อที่ระดับ 155 เมกะบิตต่อวินาที ยิ่งไปกว่านั้นยังได้มอบการเชื่อมต่อแบบไฟเบอร์ออพติค 100BASE-FX SFP บนพอร์ต Gigabit combo SFP ให้กับสวิตช์ของดีลิงค์อีกด้วย

ข้อสอบ Mark Bit

1. ถ้า subnet =2 ในclass a จะมี mask กี่ bit
ก. 4 bit
ข. 3 bit
ค. 2 bit
ง. 6 bit

2. ถ้า mask 7 bit class b มี host?
ก. 131070 host
ข. 131072 host
ค. 131073 host
ง. 1301047 host

3. mask 6 bit class c หมายเลข subnet mask?
ก. 255.255.255.255
ข. 255.255.255.252
ค. 255.192.0.0
ง. 225.252.225.252

4. 255.254..0.0 class b host?
ก. 131073
ข. 131075
ค. 131070
ง. 131071

5. subnet mask 255.192.0.0 อยู่ใน class?
ก. classb
ข. class c
ค. class a
ง. class a class c

6. mask 2 bit class a เลขฐาน 16 คือ
ก.11111111.11000000.00000000.00000000
ข.1111111.11111111.00000000.00000000
ค.11111111.00000000.00000000.00000000
ง. 11111111 .11111111.11111111.11111111

7. mask 2 bit ของclass a ได้กี่subnet
ก. 2^2=4-2=2
ข. 2^9=512-2=510
ค. 2^17=131072-2=131070
ง. 2^10=131270-2=13127

8. mask 6bit class b หมายเลข host?
ก . 2^9=512-2=510
ข . 2^18=262144-2=262142
ค . 2^17=131072-2=131070
ง. 2^18=131072-2=131070

9. mask 7bit ของ class b มีหมายเลข subnet mask คืออะไร
ก.255.255.255.255
ข. 255.254.0.0
ค. 255.255.0.0
ง . 255.255.250.0

10. mask 2bit class c หมายเลข subnet ?
ก. 2^2 =4-2=2
ข . 2^18=262144-2=262140
ค . 2^18=262144-2=262142
ง.2^18=261442=262144

เฉลย
1. ค
2. ก
3. ข
4. ค
5. ค
6. ก
7. ก
8. ข
9. ข
10. ก


ข้อสอบอัตนัย
1.Mark 2 bit ได้ Class A ได้กี่ subnet
= 2^2 = 4-2 = 2 subnet

2 .Mark 4 bit ได้ Class A ได้กี่ subnet
= 2^4 = 16-2 = 14 subnet

3 .Mark 5 bit ได้ Class A ได้กี่ subnet
= 2^5 = 32-2 = 30 subnet

4 .Mark 6 bit ได้ Class A ได้กี่ subnet
= 2^6 = 64-2 = 62 subnet

5 .Mark 7 bit ได้ Class A ได้กี่ subnet
= 2^7 = 128-2 = 126 subnet

6 .Mark 8 bit ได้ Class A ได้กี่ subnet
= 2^8 = 256-2 = 254 subnet

7. Mark 9 bit ได้ Class A ได้กี่ subnet
= 2^9 = 512-2 = 510 subnet

8 .Mark 10 bit ได้ Class A ได้กี่ subnet
= 2^10 = 1,024-2 = 1022 subnet

9 .Mark 11 bit ได้ Class A ได้กี่ subnet
= 2^11 = 2,048-2 = 2046 subnet

10 .Mark 12 bit ได้ Class A ได้กี่ subnet
= 2^12 = 4,096-2 = 4094 subnet

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การบ้าน จ้า

การสื่อสารข้อมูล เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร โดยต้องมีสื่อในการโอนข้อมูลกัน เช่น สายทองแดงหรือดาวเทียม เป็นต้น การที่เราจะสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้นั้นจะต้องอาศัยทั้งฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ โดยที่คุณสมบัติพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ประกอบไปด้วย

1. ความถูกต้องของการส่ง (Delivery) หมายถึง ข้อมูลจะต้องสามารถไปถึงปลายทางได้อย่างถูกต้อง
2. ความถูกต้องของข้อมูล (Accuracy) หมายถึง ข้อมูลที่ไปถึงปลายทางนั้นจะต้องเหมือนกับที่ต้นทางที่ส่งไป
3. เวลาที่เหมาะสม (Timeliness) หมายถึง เวลาที่ใช้ในการเดินทางของข้อมูลนั้นต้องมีระยะเวลาที่เหมาะสมไม่นานจนเกินไป

สรุป Basic IP Address

1. อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายชนิดหนึ่ง ที่ภายในจะประกอบไปด้วยเครือข่ายย่อยๆ มากมาย
2. โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานของอินเทอร์เน็ตคือ TCP/IP
3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet service provider : ISP) สามารถแบ่งออกได้เป็น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ระหว่างประเทศ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในภูมิภาค และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในท้องถิ่น
4. โพรโตคอล เป็นข้อกำหนดหรือกฎของการสื่อสารข้อมูลซึ่งจะประกอบไปด้วย syntax, semantic และtiming
5. มาตรฐานเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดความเป็นสากล ทำให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ สามารถที่จะนำมาใช้งานร่วมกันได้

แปลง IP209.123.226.168

11001010.01111011.11100010.10101000198.60.70.81
11000110.00111100.01000110.01010001

-บอกหมายเลข Subnet Mask-บอกจำนวน Host CIDR
ที่ให้คือCIDR /22
11111111.11111111.11111100.00000000
255.255.252.0
Subnet Mask = 255.255.252.0
หาจำนวน Host ได้จาก (2^0)-2=Host
(2 ^ 10) - 2 = 1022
ดังนั้นจำนวน Host = 1022
CIDR /18
11111111.11111111.11000000.00000000
255.255.192.0
Subnet Mask = 255.255.192.0
หาจำนวน Host ได้จาก (2^0)-2=Host
(2 ^ 14) – 2 = 16382
ดังนั้นจำนวน Hostจึง = 16382
CIDR /27
11111111.11111111.11111111.11100000
255.255.255.224
หาจำนวน Host ได้จาก (2^0)-2=Host
(2^5)-2 = 30
ดังนั้นจำนวน Host จึง = 30

ออกข้อสอบเรื่อง IP 5 ข้อ

1. IP ย่อมาจากข้อใดต่อไปนี้ก. Internet Protocal .ข. Inter Protocalค. Index Protocalง. Inter Properties2. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแบ่งเป็นกี่ประเภท
ก.1
ข. 2
ค. 3
ง. 4

3. โปรโตคอล หมายถึงข้อใดต่อไปนี้
ก. ข้อกำหนด หรือกฎของการสื่อสาร
ข. ทิศทางการสื่อสาร
ค. องค์ประกอบของการสื่อสาร
ง. เป็นการเชื่อมต่อกันทางกายของเครือข่าย

4. โทโปโลยี เป็นการเชื่อมต่อกันทางกายภาพของเครือข่าย ซึ่งสารมารถแบ่งออกได้เป็นแบบใดบ้าง
ก. Mesh Star Ring
ข. Mesh Star LAN
ค. Star Ring WAN
ง. Star Ring Hybrid
5. Internet protocol มีไว้เพื่ออะไร
ก. กฎเกณฑ์ในการเชื่อมต่อเดียวกัน
ข. มาตรฐานเดียวกัน
ค. ความเป็นเอกลักษณ์
ง. ความรวดเร็ว

เฉลย =.1. ก 2. ง 3. ก 4. ก 5. ข

ออกข้อสอบเรื่อง CIDR 5 ข้อ

1. CDIR ใช้โปรโตคอลใดต่อไปนี้
ก. BGP .
ข. GPM
ค. CMX
ง. MMX

2. CIDR ย่อมาจากอะไร
ก. Classless Inter-Domain Routing .
ข .Class Inter – Domain Routing
ค .Clear Inter – Domain Routing
ง .Classless Inter Dynamic Routing

3. หมายเลข Subnet Mask 18 คือข้อใด
ก. 255.255.192.0 .
ข. 255.255.190.2
ค. 255.255.255.0
ง. 255.255.0.0

3. ข้อใดต่อไปนี้คือสูตรการหา Host
ก. (2^0)-2 .
ข. (0^2)+2
ค. (2^5)+2
ง. (0^2)-2

4. Private IP Address แบ่งเป็นกี่คลาสอะไรบ้าง
ก. 2 คลาส A และ B
ข. 3 คลาส A , B ,C .
ค. 4 คลาส A , B , C , D
ง . 5 คลาส A ,B ,C ,D ,E

5. CDIR แบ่งเป็นเลข 0 และ 1 รวมแล้วมีทั้งหมดกี่ตัวต่อ Subnet mask 1 ชุด
ก. 32 .
ข. 64
ค. 40
ง. 20

เฉลย =1. ก 2. ก 3. ก 4. ข 5. ก

วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เรียน วันที่ 11 มิถุนายน

202.29.57.211001010 00011101 00111001 00000010
Class C


***************************************


11111111.11111111.11110000.00000000
/12(128+64+32+16=240)

2^12 =1096 -2 = 1094

วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เพื่อน

เพื่อน ห้อง 1


From:kimsath sath (kimsathsath@yahoo.com)http://kimsath.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:Gus m (guszaa_m@hotmail.com)http://guszaa.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:นายจำนงค์ ศรีมาศ (srimas2007@hotmail.com)http://jumnong.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:ชยาพงษ์ วังตะเคน (mo.04@hotmail.com)http://thekop-momo.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:sulak Phonboon (sulak_laky@hotmail.com)http://sulak-noy.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:khamsan khampang (khampang3@hotmail.com)http://khampang.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:ชาตรี แก้วมณี (chatree_05@thaimail.com)http://chatree-ton.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:มยุลี เสมศรี (mayulee8787@hotmail.com)http://mayulee8787.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:นางสาว จันทร์ กฤษวี (janjun1@hotmail.com)http://janjun.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:นางสาวประภาศิริ สุทธิหนู(nemo_yung@hotmail.com)http://lylulnlgl.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:sam an leakmuny (leakmuny@yahoo.com)http://leakmuny-sam.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:ณัชพร ไชยมูล (clash_oud@hotmail.com)http://khukhan-bantim.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:วาฤดี สัมนา (waruedee_49@hotmail.com)http://waruedee.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:warawood wisetmuen (nicnicnic_02@hotmail.com)http://warawood.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:r y (overnarn@hotmail.com)http://tcomtoo.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:สุพรรษา ท่วาที (supansa_56@hotmail.com)http://puy-supansa.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:อรอุมา พละศักดิ์ (tep_ratree@hotmail.com)http://tepratree.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:สายรุ่ง พงษ์วัน (sayrung_@hotmail.com)http://koraikoo.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:ศิริกัญญา ศิริญาณ (tumkatong@gmail.com)http://tumkatong.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:พรพรรณ สังขาว (aaa.37@hotmail.com)http://oake-pornpan.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:นายเทิดศักดิ์ บุญรินทร์ (ton_therdsak783@hotmail.com)http://tonstaff.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:นิพนธ์ ทรัพย์ประเสริฐ (nipoon_karn@hotmail.com)http://karnline.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:ทัสนีย์ ประสาร (tatsanee_1234@thaimail.com)http://ningza-tatsanee.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:wasan dujda (nong2445572@hotmail.com)http://newcastle-wasan.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:นิพนธ์ ทรัพย์ประเสริฐ์ (kan-49@hotmail.com)http://teerapon123.blogspot.com/^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^From:sophang sophaly (phangsophaly@hotmail.com)http://sophaly-phang.blogspot.com/

เพื่อนห้อง 2

From: Chaloempol Yokyuth (geng_gtr@hotmail.com)http://chaloempol.blogspot.com/YYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYFrom: Parina Polngam (nongnanfar@hotmail.com)http://parina-nang.blogspot.com/YYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYFrom: ณัฐวุฒิ วรรณา (kon.jai.ray@hotmail.com)http://e-wutdy.blogspot.com/YYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYFrom: วีระชัย ชินทอง (weerachaidong@hotmail.com)http://weedong.blogspot.com/YYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYFrom: ศิริลักษณ์ ใจโชติ (tum.naruk@hotmail.com)http://pinkzosay.blogspot.com/YYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYFrom: นางสาวธนาภา บุญร่วม (tip21_@hotmail.com)http://tanapa.blogspot.com/YYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYFrom: ความรักทำให้คนตาบอด บูดาเบส (b_boy.eg@hotmail.com)นายเอกวิทย์ ประทีปธนากร 491225226 http://ekawit.blogspot.com/YYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYFrom: pornpun intanun (nuthicha@hotmail.com)http://nuthicha.blogspot.com/YYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYFrom: นางสาวสุนันทา จันมนตรี (rosri21@hotmail.com)http://rosri.blogspot.com/YYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYFrom: นิโรบล ศรีวิชัยยศ (tanoy17@hotmail.com)http://yakumi-tanoy.blogspot.com/YYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYFrom: ธวัชชัย ปรือปรัง (sek.7@hotmail.com)http://dekduecub.blogspot.com/YYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYFrom: นายสุวัฒน์ บัวจันทร์ (kero_pee_1@hotmail.com)http://keropee.blogspot.comYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYFrom: ประครอง วันทะวงษ์ (auto_7991@hotmail.com)http://roseka.blogspot.com/YYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYFrom: ชัชวาล ถิ่นนาไห (dexonhud@hotmail.com)URL: http://chadchawal.blogspot.com/YYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYFrom: สมปอง แสงสิงห์ (sompong.sangsing@hotmail.com)http://sompong19.blogspot.comYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYFrom: ธงชัย ราชสิฃห์ (pktp_9@hotmail.com)http://dexhudmai.blogspot.com/YYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYYFrom: วิทยา สุดหล้า (teawit.la@hotmail.com)http://longchimyung.blogspot.com/

คำถามเกี่ยวกับ OSI

1. โมเดลถูกแบ่งย่อยออกเป็นกี่ชั่น
ก. 6
ข. 7
ค. 8
ง. 9

2.ข้อไดไม่ใช่หน่อยย่อยการทำงานของ OSI
ก. Application
ข. Data Link
ค. Physical
ง. Internet

3. Physical Layer คืออะไร
ก. เป็นการอธิบายคุณสมบัติทางกายภาพ
ข. เป็นชั้นที่อธิบายถึงการส่งข้อมูลไปบนสื่อกลาง ชั้นนี้ยังได้ถูกแบ่งออกเป็นชั้นย่อย
ค. ให้บริการทำการตกลงกันระหว่างสองโปรโตคอลถึงไวยากรณ์
ง. เป็นชั้นบนสุดของแบบจำลอง ISO/OSI เป็นชั้นที่ใช้บริการของชั้น Presentation

4. Frame คืออะไร
ก. หน่วยของข้อมูลในระดับ Network Layer
ข. หน่วยของข้อมูลในระดับ Network Layer ที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Connectional Less
ค. หน่วยของข้อมูลในระดับ Datalink Layer
ง. หน่วยข้อมูลทั่วไป

5. Data unit คืออะไร
ก. หน่วยของข้อมูลในระดับ Datalink Layer
ข. หน่วยของข้อมูลในระดับ Network Layer
ค. หน่วยของข้อมูลในระดับ Network Layer ที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Connectional Less
ง. หน่วยข้อมูลทั่วไป


เฉลย

1. ข
2. ง
3. ก
4. ค
5. ง

อ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/OSI_Model

วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ข้อสอบแอสกี

1. รหัสแทนข้อมูลใดที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
ก. รหัสแอบซิติก
ข. รหัสแอสกี ***
ค. รหัสข้อความ
ง. รหัสยูนิโค้ต

2. รหัสแอสกีเป็นรหัสกี่บิต
ก. 2 บิต
ข. 4 บิต
ค. 6 บิต
ง. 8 บิต ***

3.รหัสแทนข้อมูลที่เรียกว่า รหัสแอสกี กำหนดไว้เป็นเลขฐานใด
ก. ฐานสอง
ข. ฐานสิบ ***
ค. ฐานแปด
ง. ฐานสิบหก

แนะนำตนเอง

ชื่อ นาย วราวุฒิ วิเศษหมื่น
ชื่อเล่น นิค
โปรแกรมวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ ปี3
รหัสนักศึกษา 4912252116
เบอร์โทร 0844963088


งานที่จะส่ง
WARAWOOD
57-41-5A-41-57-4F-4F-44
01010111-01000001-01010010-01000001-01010111-01001111-01001111-01000100



WISETMUEN
57-49-53-45-54-4D-55-45-4E
01010111-01010011-01010011-01000101-01010100-01001101-01010101-01000101-01001110


0944963088
30-3/8-34-34-39-36-33-30-38-38
0011 0000-0011 1000-0011 0100-0011 0100-0011 1000-0011 0110-0011 0011-0011 0000-0011 1000-0011 1000